ประกาศผลการตัดสินรางวัลผลงาน R2R ดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๙
ประกาศโครงการสนับสนุนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยระดับประเทศ
ที่ R2R ๐๐๒/๒๕๕๙
เรื่อง ผลการตัดสินรางวัลผลงาน R2R ดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๙
ตามที่โครงการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยระดับประเทศ ได้จัดให้มีกิจกรรมการประกวดผลงาน R2R ดีเด่น กลุ่มงานบริการระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ ศูนย์ความเชี่ยวชาญระดับสูง และโรงเรียนแพทย์ สนับสนุนบริหารและบริการ นวัตกรรม/สิ่งประดิษฐ์ Meta R2R และการศึกษา เนื่องในโอกาสการจัด การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากงานประจำสู่งานวิจัย Routine to Research (R2R) ครั้งที่ ๙ “R2R ๙ แห่งการเรียนรู้ ๙ สู่นโยบาย” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๖ - ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๙ ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็คฟอรั่ม เมืองทองธานี เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้ทำงานวิจัยควบคู่ไปกับงานประจำนั้น
บัดนี้ คณะกรรมการพิจารณารางวัล R2R ดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๙ ได้ทำการพิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีผลงานที่ได้รับการตัดสินให้ได้รับรางวัล รวมทั้งสิ้นจำนวน ๔๐ รางวัล จำแนกเป็น ระดับปฐมภูมิ ๑๐ รางวัล ระดับทุติยภูมิ ๘ รางวัล ระดับตติยภูมิ ศูนย์ความเชี่ยวชาญระดับสูง และโรงเรียนแพทย์ ๖ รางวัล ระดับสนับสนุนบริหารและสนับสนุนบริการ ๑ รางวัล ระดับนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ ๗ รางวัล ระดับ Meta R2R ๖ รางวัล และระดับ KM และการศึกษา ๒ รางวัล ดังมีรายชื่อผลงานและเจ้าของผลงานที่แนบท้ายประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙
(รองศาสตราจารย์นายแพทย์เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ)
หัวหน้าทีมที่ปรึกษาโครงการสนับสนุน
การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยระดับประเทศ
รายชื่อผลงานและเจ้าของผลงาน
ที่ได้รับรางวัลผลงาน R2R ดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๙
รางวัลผลงาน R2R ดีเด่น ระดับปฐมภูมิ
1.ID 47 การพัฒนาศักยภาพผู้พิการและผู้ดูแลในการใส่สายสวนปัสสาวะด้วยตนเองแบบสะอาดเป็นครั้งคราว (Clean Self- Intermittent Catheterization)
โดย มารียา อุดม และคณะ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย จังหวัดแพร่
2.ID 107 กระบวนการจัดการขยะชุมชนอย่างครบวงจร
โดย สัมพันธ์ อัมพุธ และคณะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองหล่ม จังหวัดพะเยา
3.ID 112 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านด้วยกระบวนการ 1A4C กับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (ADL) ของ รพ.สต.ปอน ในกลุ่มชาติพันธุ์ขมุ, ไทลื้อ, เหาะ และชาติพันธุ์ลัวะ
โดย ภควันต์ จันต๊ะ และคณะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปอน จังหวัดน่าน
4.ID 224 "การพัฒนาเครือข่ายดูแลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษา ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน"
โดย พว.พัทยา ทองสุข และคณะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไหล่น่าน จังหวัดน่าน
5.ID 250 แบบบันทึกการตรวจเท้าด้วยภาพถ่ายเพื่อการป้องกันและจัดการความเสี่ยงต่อการเกิดแผล ที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ของ รพ.สต.หนองนาก
โดย พว.พนิดา สมนันท์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองนาก จังหวัดสระบุรี
6.ID 276 CBR ความท้าทายระดับชุมชนลดปัญหาทางการเคลื่อนไหวหรือทางกายในคนพิการ
โดย ประจักร กองตัน และคณะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านถ้ำ จังหวัดพะเยา
7.ID 323 การพัฒนาระบบการดูแลผู้พิการอย่างมีสุขภาพดี มีตังค์ อย่างยั่งยืนตำบลหนองหล่ม
โดย ปาลิตา เผ่าตัน และคณะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองหล่ม จังหวัดพะเยา
8.ID 402 ผลของโปรแกรมการให้สุขศึกษาร่วมกับการให้คำปรึกษาแบบสั้นในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตสูงไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าจาน ตำบลหินโงม จังหวัดหนองคาย
โดย วิไลรัตน์ ลิมโพธิ์ทอง และคณะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าจาน จ.หนองคาย
9.ID 436 การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย “พัฒนาการสมวัย ผูกสายใยรัก ด้วยหนังสือเล่มแรกของหนู”
โดย ดร.สมนึก หงษ์ยิ้ม โรงพยาบาลทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี
10.ID 466แนวทางเพื่อลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสล่าเชียงตอง
โดย พว.ยุทธภูมิ เพชรอุดมพร และคณะ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
รางวัลผลงาน R2R ดีเด่น ระดับทุติยภูมิ
1.ID 38 ผลของโปรแกรมฟื้นฟูสภาพการทรงตัวทางกายภาพบำบัดร่วมกับไทเก็กประยุกต์เพื่อป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
โดย กภ.สราวุธ สมพงษ์ โรงพยาบาลปากพลี จังหวัดครนายก
2.ID 110 การพัฒนาแนวทางการจัดบริการดูแลรักษาผู้ป่วยเอดส์ที่รับการรักษาไม่ต่อเนื่องโรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
โดย ภรกต สูฝน และคณะ โรงพยาบาลโพนพิสัย ตำบลจุมพล จังหวัดหนองคาย
3.ID 135 ผลของการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อผ่อนคลายผู้รับบริการที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะรอตรวจ ที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสอง จังหวัดแพร่
โดย จีรวัฒน์ เก้ารัตน์ โรงพยาบาสลสอง จังหวัดแพร่
4.ID 367 ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูภาวะข้อต่อติดแข็งในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเรื้อรัง โรงพยาบาลละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์
โดย กฤษฎา สมรัก และคณะ โรงพยาบาลละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์
5.ID 375 ผลลัพธ์การพัฒนาระบบ IT เพื่อบริหารจัดการคลินิกวอร์ฟาริน
โดย นพ.สถาพร มณี และคณะ โรงพยาบาลเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
6.ID 425 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในการเกิดโปแตสเซียมในเลือดต่ำ ในผู้ป่วยที่มีภาวะโปแตสเซียมในเลือดต่ำชนิดรุนแรง โรงพยาบาลพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด
โดย ภก.ศุภชาติ สมมาตย์ และคณะ โรงพยาบาลพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด
7.ID 430 สถานะของผู้ดูแลกับรูปแบบการรับมือปัญหาภาระการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพา
โดย นพ.เชษฐพงศ์ สัจจาผล โรงพยาบาลควนขนุน จังหวัดพัทลุง
8.ID 432 พัฒนารูปแบบการดูแลแบบบูรณาการในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย/ผู้ดูแลโรงพยาบาลศรีนครินทร์ (ปัญญานันทภิกขุ)
โดย พว.นัยน์รัตน์ จันทร์เพ็ง และคณะ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ (ปัญญานันทภิกขุ) จังหวัดพัทลุง
รางวัลผลงาน R2R ดีเด่น ระดับตติยภูมิ ศูนย์ความเชี่ยวชาญระดับสูง และโรงเรียนแพทย์
1.ID 8 การเตรียมผู้ป่วยเพื่อส่องตรวจทางเดินอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นด้วยสารหล่อลื่นที่มีและไม่มีส่วนผสมของยาชา: การศึกษาเชิงทดลองคลินิกแบบสุ่ม
โดย นพ.ชูชาติ คูศิริรัตน์ และคณะ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
2.ID 13 ผลการนวดด้วยถุงมืออุ่นต่อความปวดและการคัดตึงเต้านมมารดาหลังคลอด
โดย พว.ผะอบ ไกรดำ และคณะ โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
3.ID 62 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ
โดย ขนิษฐา อรัญดร และคณะ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา
4.ID 68 การศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของการรักษาจอตาอักเสบจาก cytomegalovirus โดยการฉีดยา ganciclovir แบบลดขนาดเข้าวุ้นตา
โดย ผศ. นพ.ปิติพล ชูพงศ์ และคณะ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
5.ID 91 ผลของการใช้แนวทางปฏิบัติในการส่งตรวจผลการวิเคราะห์ก๊าซในเลือดตามพยาธิสรีรภาพของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจและทรวงอก
โดย พว.ปราณี ทองใส และคณะ โรงพยาบาลศิริราช
6.ID 147 ประสิทธิศักย์ครีมพริกสูตรทาวันละครั้งในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม
โดย พญ.รัชฎา สหะวรกุลศักดิ์ และคณะ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี
รางวัลผลงาน R2R ดีเด่น ระดับงานสนับสนุนบริหารและบริการ
1.ID 25 การพัฒนารูปแบบและเครื่องมือการแปลงธรรมนูญสุขภาพสู่การวางแผนงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กองทุนตำบล) ในพื้นที่อีสานตอนบน
โดย วันรพี สมณช้างเผือก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 8 อุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
รางวัลผลงาน R2R ดีเด่น ระดับนวัตกรรม/สิ่งประดิษฐ์
1.ID 12 โครงการสร้างชุดต้นแบบเครื่องสร้างอุณหภูมิเพื่อทดสอบเทียบมาตรฐานปรอทวัดไข้ (The project to build a series of prototypes to test air temperatures than standard thermometer)
โดย ปรีชา ชื่นชมภู และคณะ สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพเขต 7 ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
2.ID 15 วงล้อจักรยานเพื่อเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวข้อไหล่
โดย พว.รัชนีกร ใจคำสืบ และคณะ หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
3.ID 40 อุปกรณ์สำหรับครอบชุดการสอดใส่แร่มะเร็งปากมดลูก (Siriraj Ring Cap)
โดย ผศ. นพ.พิทยา ด่านกุลชัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กรุงเทพมหานคร
4.ID 58 ผ้าพันศีรษะฉุกเฉิน Field Head Saver
โดย ปรีชา มะโนยศ โรงพยาบาลเทิง จังหวัดเชียงราย
5.ID 115 รองเท้าช่วยป้องกันเท้าตก และข้อเท้าเขย่งในผู้ป่วยใส่ Ring External Fixation
โดย มงคล โบไธสง และคณะ โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร
6.ID 192 การพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ในการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ร่วมกับระบบติดตามประเมินผลการควบคุมโรคไข้เลือดออก จังหวัดยโสธร (Yasothon 3-3-1 Monitoring)
โดย ถนอม นามวงศ์ และคณะ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร จังหวัดยโสธร
7.ID 320 สาวเสียงใส ใส่ใจผู้รับบริการ
โดย วินัย โยลัย และคณะ โรงพยาบาลบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร
รางวัลผลงาน R2R ดีเด่น ระดับ Meta R2R
1.ID 111 การพัฒนาการบริหารยาในผู้ป่วยเบาหวานมุสลิมช่วงถือศีลอดเดือนรอมฎอน
โดย ภญ.นีลนาถ เจ๊ะยอ โรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี
2.ID 245 การพัฒนาระบบงานจ่ายกลางเครือข่ายสาธารณสุขอำเภอท่าวังผา
โดย พว.ศุภลักษณ์ ธนามี และคณะ โรงพยาบาลท่าวังผา จังหวัดน่าน
3.ID 291 การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชนตำบลสวาท อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
โดย พว.เปมิกา บุตรจันทร์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
4.ID 481 ปทุมธานีพี่ช่วยน้องพัฒนาระบบการดูแลผู้คลอดเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
โดย พว.พรทิพย์ คนึงบุตร และคณะ โรงพยาบาลปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
5.ID 525 การพัฒนางานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล (IC) ขยายผลสู่ระบบสุขภาพอำเภอ (DSH) อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร
โดย พว.สมหญิง อุ้มบุญ และคณะ โรงพยาบาลป่าติ้ว จังหวัดยโสธร
6.ID 590 พัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบองค์รวมและครบทุกมิติ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพอำเภอบ้านโฮ่ง
โดย พว.พรวิภา ยาสมุทร์ และคณะ โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
รางวัลผลงาน R2R ดีเด่น ระดับ KM และการศึกษา
1.ID 214 การบูรณาการการศึกษากับงานประจำในการจัดการด้านระบบยาและระบบคุณภาพโรงพยาบาล
โดย ผศ.ดร. ภญ.นันทวรรณ กิติกรรณากรณ์ และคณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
2.ID 594 การจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอ ศูนย์ประสานงานและจัดการเรียน อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โดย ดร.วันลภ ดิษสุวรรณ์ และคณะ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดพัทลุง
Attachment | Size |
---|---|
ผลการตัดสินรางวัลผลงาน R2R ดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๙ | 190.83 KB |
- อ่าน 11693 คน
- พิมพ์หน้านี้