ถาม-ตอบ
-
คือการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย ผลลัพธ์ของ R2R ไม่ได้หวังเพียงได้ผลงานวิจัย แต่มีเป้าหมายเพื่อนำผลงานวิจัยไปใช้พัฒนางานประจำนั้นๆ R2R จึงเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน เพื่อพัฒนางาน ขับเคลื่อนองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
-
คือ
- โจทย์วิจัย R2R: ต้องมาจากปัญหาหน้างาน จากงานประจำ
- ผู้ทำวิจัย: ต้องเป็นผู้ทำงานประจำนั้นเอง โดยแสดงบทบาทหลักของงานวิจัย
- ผลลัพธ์ของงานวิจัย: ต้องวัดถึงผลต่อตัวผู้ป่วย หรือผู้รับบริการโดยตรง เช่น ผลการรักษาที่ดีขึ้น ภาวะแทรกซ้อนหรือระยะเวลาวันนอนลดลง เป็นต้น (ไม่ใช่วัดที่ตัวชี้วัดทุติยภูมิเท่านั้น)
- การนำผลการวิจัยไปใช้: สามารถนำไปปรับปรุงการบริการให้ดีขึ้นในบริบทขององค์กรนั้นๆ ได้
-
ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) หรือการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ที่มีความเหมาะสม และเชื่อถือได้
-
คือกลุ่มผู้วิจัย R2R คุณอำนวย และผู้บริหาร
- กลุ่มผู้วิจัย R2R: ควรเริ่มจากใจ ที่ต้องการพัฒนางานประจำ ค้นหาคำถามวิจัยที่เป็นกุญแจสู่การพัฒนาการบริการ ผลลัพธ์จากการทำ R2R คือ ส.ป.ก. (ส. คือความสุข สนุกในการทำงาน ป. คือ ปัญญา เก่งขึ้น ฉลาดขึ้น และ ก. คือ ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
- คุณอำนวย: ไม่ใช่ครู ไม่ใช่วิทยากร ไม่ใช่เจ้าของโครงการ แต่เป็นผู้อำนวยความสำดวกต่อกิจกรรม R2R โดยใช้แนวคิด KM (Knowledge Management) เริ่มต้นจากความสำเร็จของกลุ่มคนจำนวนน้อยมาเล่ามาแลกเปลี่ยน และต่อยอด (Success Story telling) มีการสนับสนุนกิจกรรม R2R เชิงรุก มีการวิพากษ์งานวิจัยอย่างสร้างสรรค์
- ผู้บริหาร: มีความรู้ความเข้าใจถึงแนวคิด และปรัชญา R2R อย่างแท้จริง ให้การสนับสนุนกิจกรรม R2R อย่างเหมาสม ใช่ R2R เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน เพื่อพัฒนางานประจำ นำพาองค์กรไปสู่งองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
-
คือประโยชน์ของผลงาน R2R ที่มีต่อผู้รับบริการ และองค์กรอย่างแท้จริง ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงาน มีความสุข สนุกกับงานที่ไม่ได้ทำไปวันๆ อีกต่อไป จน R2R กลายเป็นวิถีชีวิตและวัฒนธรรมองค์กร