ขอเชิญประกวดหัวข้องานวิจัย R2R ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน และหัวข้อวิจัยเพื่อเสนอแนะเชิงนโยบายระดับประเทศในการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
กระบวนการคัดเลือกและจัดลำดับหัวข้องานวิจัย และงานวิจัย R2R ดำเนินงานวิจัย
เพื่อพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
***รายละเอียดเพิ่มเติม web site สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ >>>
http://www.niems.go.th/th/View/ContentDetails.aspx?CateId=109&ContentId=25580609095838304
๑ หลักการ
การพัฒนาด้านการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทยทั้งด้านบริหารจัดการและการจัดบริการให้มีมาตรฐาน บุคคลเข้าถึงได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมทั้งในภาวะปกติและภาวะภัยพิบัติ โดยเน้นสร้างการมีส่วนร่วมตามวิสัยทัศน์ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีข้อมูลสนับสนุนเชิงประจักษ์เสนอแนะการจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉินในเชิงนโยบายระดับชาติและระดับพื้นที่ มีข้อมูลส่งเสริมหรือปรับปรุงกลยุทธ์ แนวทางปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนผู้ใช้บริการ ซึ่งการวิจัยด้านการแพทย์ฉุกเฉินที่ดำเนินการทั้งจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ภาคีเครือข่ายส่วนภูมิภาค รวมทั้งหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ด้วยกระบวนการวิจัยที่มีมาตรฐาน พัฒนาบุคลากร จึงถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ดังนั้น ในกระบวนการคัดเลือกและจัดลำดับหัวข้องานวิจัยครั้งนี้ นอกจากได้หัวข้องานวิจัยที่เกิดจากความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ซึ่งถือเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมอย่างหนึ่งแล้ว ยังเป็นการทำงานหรือทำวิจัยร่วมกันระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและระดับพื้นที่ รวมทั้งเป็นการสร้างนักวิจัยด้านการแพทย์ฉุกเฉินให้มากขึ้น มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
๑ เพื่อมีหัวข้องานวิจัยด้านการแพทย์ฉุกเฉินที่เกิดจากกระบวนการพัฒนาหัวข้องานวิจัยอย่างมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงานหรือนักวิชาการในพื้นที่
๒ เป็นการศึกษา ค้นคว้าวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางการแพทย์ฉุกเฉินที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินทั้งระดับหน่วยงาน พื้นที่และสนับสนุนการตัดสินในเชิงนโยบาย
๓ สนับสนุน และพัฒนาเครือข่ายนักวิจัยและองค์กรวิจัยเพื่อสนับสนุนการวิจัยด้านการแพทย์ฉุกเฉินให้มีคุณภาพ
๒ ประเด็นหรือทิศทางการวิจัย
ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ สพฉ. กำหนดประเด็นงานวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายตามหลักมิติ ๕ ค. ของเลขาธิการ สพฉ. ได้แก่ มิติด้านความครอบคลุม คล่องแคล่ว ครบพร้อม ๒๔ ชม. คุณภาพ และคุ้มครอง มีรายละเอียดและตัวอย่างหัวข้อวิจัย ดังนี้
มิติครอบคลุม:พัฒนาการเข้าถึงบริการในกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินวิกกฤตที่เป็นปัญหาหลัก เช่น รูปแบบที่เหมาะสมต่อการขยายความครอบคลุมพื้นที่ของบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การพัฒนาระบบปฏิบัติการฉุกเฉิน (fast tract) สำหรับผู้ป่วย STEMI, Stroke, Sepsis, Head Injury, Trauma เป็นต้น การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินตามกลุ่มเปราะบาง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ
มิติด้านคล่องแคล่ว: พัฒนาระบบและเพิ่มหน่วยบริการให้ครอบคลุมพื้นที่ เพื่อไปถึงผู้รับบริการอย่างรวดเร็วและปลอดภัย เช่น ศึกษาช่องว่างและการพัฒนาเพื่อเพิ่มการใช้บริการ ๑๖๖๙ การพัฒนาศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการประเมินคัดกรอง (Triage) การวิจัยและพัฒนารูปแบบการปฏิบัติการฉุกเฉินด้วยชุดปฏิบัติการฉุกเฉินของหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินรูปแบบอื่นๆ เช่น Motorlance เป็นต้น
มิติด้านครบพร้อม ๒๔ ชั่วโมง: พัฒนาเครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉินให้มีความพร้อมทั้งในภาวะปกติและภาวะภัยพิบัติ เช่น ระบบกลไกที่เหมาะสมต่อการสร้างความพร้อม ๒๔ ชั่วโมง ของระบบการแพทย์ฉุกเฉินต่อ ภัยพิบัติ เป็นต้น
มิติด้านคุณภาพ: พัฒนาเพื่อเพิ่มคุณภาพการดำเนินการด้านการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยบริการทั้งในภาวะปกติและภาวะภัยพิบัติ เช่น การปรับปรุงคุณภาพระบบปฏิบัติการฉุกเฉิน ๖ โรคสำคัญ การประเมินความเสี่ยงและความพร้อมของเครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉินในการจัดการสาธารณภัยตามรูปแบบ EIRRA model เป็นต้น
มิติด้านคุ้มครอง: พัฒนาเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินและสังคมรอบข้างขณะปฏิบัติงานและพัฒนามาตรฐานด้านความปลอดภัยของพาหนะฉุกเฉิน อุปกรณ์กู้ชีพ เช่น ศึกษาระบาดวิทยาการเจ็บป่วยของบุคลากรกู้ชีพและหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การพัฒนารูปแบบเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของ ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน เป็นต้น
นอกจากนั้น ยังสามารถจำแนกประเด็นและทิศทางงานวิจัยตามระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ดังนี้
๑. การป้องกันการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นฉุกเฉิน และการป้องกันการเสียชีวิตหรือความรุนแรงที่เกิดจากการเจ็บป่วยฉุกเฉินนั้น (Medical Emergency Prevention/Safety) ทั้งผู้รับบริการที่เป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน และความปลอดภัยของผู้ให้บริการที่เป็นผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉิน อีกทั้งการป้องกันการเจ็บป่วยในสถานการณ์ภัยพิบัติ
๒. การปฏิบัติการฉุกเฉินก่อนโรงพยาบาล (Pre Hospital Care) เกี่ยวกับการปฏิบัติการฉุกเฉิน 6 ระยะ (star of life) ได้แก่ 1) การพบเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน (detection) 2) การแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือ (reporting) 3) การออกปฏิบัติการของชุดปฏิบัติการทีมแรก (response) 4) การรักษาพยาบาล ณ จุดเกิดเหตุ (on scene care) 5) การลำเลียงขนย้ายและดูแลระหว่างนำส่ง (care in transit) และ 6) การนำส่งสถานพยาบาลที่เหมาะสม (transfer to definitive care)
๓. การปฏิบัติการฉุกเฉินในโรงพยาบาล (In Hospital Care) เกี่ยวกับการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพของสถานพยาบาล/การให้บริการ การพัฒนาคุณภาพของผู้ปฏิบัติการ
๔. การปฏิบัติการฉุกเฉินระหว่างโรงพยาบาล (Inter Facility Transfer) เกี่ยวกับการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพของสถานพยาบาล/การให้บริการ การพัฒนาคุณภาพของผู้ปฏิบัติการ รวมทั้งหน่วยปฏิบัติการ
๕. การปฏิบัติการฉุกเฉินในภาวะสาธารณภัย (Disaster Medicine) เกี่ยวกับการจัดการสาธารณภัยด้านการแพทย์ฉุกเฉิน การบูรณาการกับทุกหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกประเทศ
๓ กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ปฏิบัติงาน/นักวิชาการ/ผู้สนใจที่อยู่ในหน่วยงาน องค์กรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการแพทย์ฉุกเฉิน โดยจำแนกกลุ่มเป้าหมายในการเสนอหัวข้องานวิจัยออกเป็น ๒ ส่วน คือ
๑) หัวข้องานวิจัยเพื่อเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการแพทย์ฉุกเฉินระดับประเทศ (งานวิจัยหลัก)
๒) หัวข้องานวิจัยในงานประจำ (Routine to Research) เพื่อพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินในหน่วยงานหรือพื้นที่ มีกลุ่มเป้าหมายดังนี้
๑. หัวข้องานวิจัยเพื่อเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการแพทย์ฉุกเฉินระดับประเทศ (งานวิจัยหลัก) ได้แก่ กลุ่มองค์กรหรือหน่วยงานวิจัย สมาคมแพทย์ทหารแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ มหาวิทยาลัย/วิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลระดับต่าง ๆ องค์กรปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย มูลนิธิ และองค์กรไม่แสวงกำไร
๒. หัวข้องานวิจัยในงานประจำ Routine to Research (R2R) เพื่อพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินในหน่วยงานหรือพื้นที่ ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลระดับต่าง ๆ/รพ.สต. องค์กรปกครองท้องถิ่น มูลนิธิหรือองค์กรไม่แสวงกำไร
๔ ผลที่จะได้รับ
๔.๑ ผู้ส่งหัวข้อวิจัย
๑. รางวัลสำหรับหัวข้อวิจัยที่ได้รับการคัดเลือก
๒. โอกาสที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย หรือร่วมทำวิจัยลักษณะเป็นเครือข่าย
๓. ผลงานวิชาการที่สามารถนำไปต่อยอดแก้ปัญหาในงานประจำ หรือเป็นผลงานต่อยอดวิชาชีพ
๔. โอกาสนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉิน และตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
๕. โอกาสได้รับการสนับสนุนในการนำเสนอผลงานในเวทีประชุมวิชาการทั้งภายในและต่างประเทศ
๔.๒ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
๑. มีหัวข้องานวิจัยด้านระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่เกิดจากความต้องการของพื้นที่
๒. ดำเนินงานวิจัย หรือเป็นผู้ร่วมวิจัย หรือผู้สนับสนุนการทำวิจัยในหัวข้อที่นำสู่การพัฒนาเชิง นโยบายอย่างแท้จริง
๓. มีเครือข่ายนักวิจัย และมีทำเนียบนักวิจัยด้านการแพทย์ฉุกเฉินหน้าใหม่เพิ่มขึ้น
๕ แผนเวลาดำเนินงาน
กิจกรรม |
ระยะเวลา |
๑ ประชาสัมพันธ์
|
ตั้งแต่วันนี้ ถึง ๓๐ มิ.ย. ๕๘ |
๒ รับหัวข้องานวิจัย
|
๑๐-๓๐ มิ.ย. ๕๘ |
๓ ปิดรับหัวข้องานวิจัย |
๑ ก.ค.๕๘ |
๔ ทบทวนและคัดเลือกหัวข้องานวิจัย (แบ่งหัวข้องานวิจัย ๒ ประเภท คือ งานวิจัยหลักและงานวิจัยในงานประจำ ประเภทละ ๑๐ เรื่อง รวม ๒๐ เรื่อง) |
๑-๑๐ ก.ค.๕๘ |
๕ ประกาศผลหัวข้องานวิจัย (ประกาศผลหัวข้องานวิจัยผ่าน www.niems.go.th และประสานโดยตรงกับเจ้าของหัวข้อที่ผ่านการคัดเลือก) |
๑๐ ก.ค.๕๘ |
๖ ทบทวนและเพิ่มเติมหัวข้องานวิจัย
|
๑๐-๑๕ ก.ค.๕๘ |
๗ ประชุมจัดลำดับความสำคัญหัวข้องานวิจัย
|
๓-๗ ส.ค.๕๘ |
๘ ประกาศผล concept paper ที่ได้รับคัดเลือกสนับสนุนทุนวิจัย (ประกาศผลหัวข้องานวิจัยทาง www.niems.go.th และประสานโดยตรงกับเจ้าของหัวข้อ) |
๑๕ ส.ค. ๕๘ |
๙ พัฒนาข้อเสนอโครงร่างงานวิจัย (full proposal) เข้าสู่ขั้นตอนพิจารณาจำนวนงบประมาณในการสนับสนุนทุนวิจัย |
ก.ย.-พ.ย.๕๘ |
๖ ค่าใช้จ่าย
สำหรับหัวข้อวิจัยที่ได้รับการคัดเลือกรับรางวัล พร้อมนำเสนอ concept paper ในการ “ประชุมจัดลำดับความสำคัญหัวข้องานวิจัย” ตามที่ผู้ประสานงาน สพฉ. ติดต่อไปนั้น สามารถเบิกจ่ายค่าใช้จ่าย ดังนี้ ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอาหาร เพียง ๑ ท่าน โดยนำใบสำคัญรับเงินมาเบิกที่ สพฉ. ในวันจัดการประชุม
ผู้ประสานงาน สพฉ.
๑. นายธีระ ศิริสมุด,teera.s@niems.go.th, ๐๘๔-๓๖๐-๑๖๖๙
๒. นางสาวชนนิกานต์ สิงห์พยัคฆ์, chonnikant.s@niems.go.th, ๐๘๑-๘๑๔-๑๖๖๙
๓. นางพรทิพย์ วชิรดิลก, porntip.w@niems.go.th, ๐๘๑-๘๑๗-๑๖๖๙
แบบฟอร์ม
แบบฟอร์มการส่งหัวข้องานวิจัย
ชื่อหัวข้อวิจัย : .......................................................................................................................................................................
คำถามวิจัย
……………………………………………………………………………………………………………………………………...……………………………….………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………............
วัตถุประสงค์
………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..............………………
ระเบียบวิจัย (อธิบายพอสังเขป)
รูปแบบงานวิจัย ....................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................................................
กลุ่มตัวอย่าง ..........................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................................................
พื้นที่ดำเนินการ .....................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................
วิธีเก็บข้อมูล ………………………………………………………………………………………………………………………........…………….…………
………………………………………………………………………………………………………………………………………........…………………..………
..............................................................................................................................................................................................
ประเภทงานวิจัย
[ ] 1) หัวข้องานวิจัยเพื่อนำไปเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการแพทย์ฉุกเฉินระดับประเทศ
[ ] 2) หัวข้องานวิจัยในงานประจำ (R2R) เพื่อพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินในหน่วยงานหรือพื้นที่
ชื่อ – นามสกุลผู้ส่งหัวข้อ : |
|
แผนก/ฝ่ายที่ปฏิบัติงานในปัจจุบัน |
|
สถานที่ปฏิบัติงาน : ที่อยู่ (ที่ติดต่อสะดวก) :
โทรศัพท์ที่ทำงาน : |
|
โทรศัพท์มือถือ : E-Mail Address : |
|
กรอกรายละเอียดผ่าน www.niems.go.th หรือกรอกรายละเอียดตามแบบฟอร์มส่งทาง e-mail: teera.s@niems.go.th
ข่าวสารในเครือข่าย: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)- อ่าน 6679 คน
- พิมพ์หน้านี้