Skip to main content
R2R

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • สมัครสมาชิก
    • ขอรหัสผ่านใหม่
  • |
  • สมัครสมาชิก
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ R2R
  • ข่าวสารและกิจกรรม
    • ข่าวสาร
    • กิจกรรม
  • เวทีสร้างงานวิจัย
  • คลังความรู้
    • วิดีโอ
    • หนังสือ
    • งานวิจัย
    • E-Journal
    • จดหมายข่าว
  • อัลบั้มภาพ
  • เครือข่าย R2R
หน้าแรก » เวทีสร้างงานวิจัย » นวตกรรมสิ่งประดิษฐ์กางเกงสำหรับตรวจพิเศษทางรังสีวิทยา (Evaluation of Innovation trousers for Barium enema)

นวตกรรมสิ่งประดิษฐ์กางเกงสำหรับตรวจพิเศษทางรังสีวิทยา (Evaluation of Innovation trousers for Barium enema)

  • ขนาดตัวอักษร  | |

พัฒนาโครงร่างวิจัย

1. ชื่อโครงการ (ภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ)

นวตกรรมสิ่งประดิษฐ์กางเกงสำหรับตรวจพิเศษทางรังสีวิทยา (Evaluation of Innovation trousers for Barium enema)

2. ภูมิหลังและที่มาของโครงการ (Background and Rational)

การตรวจพิเศษมสงรังสีของลำไส้ใหญ่ในขั้นตอนการสอดใส่หัวสวนเข้าทางทวารหนักจะต้องเปิดผ้าถุงผู้ป่วยขึ้นสูงเพื่อสอดใส่หัวสวน ในขั้นตอนนี้ผู้ป่วยจะมีความวิตกกังวลและเขินอายที่จะเปิดเผยร่างกายในส่วนที่ต้องการปกปิด เพื่อเป็นการพิทักษ์สิทธิ์ของผู้ป่วย จึงมีการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์กางเกงสำหรับตรวจพิเศษลำไส้ใหญ่และช่วยให้ผู้ป่วยไม่ถูกเปิดเผยร่างกายมากจนเกินไป

3. วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย (Objective)

3.1 วัตถุประสงค์หลัก (Primay Objective)

เพื่อประดิษฐ์กางเกงสำหรับผู้รับบริการตรวจเอกซเรย์พิเศษลำไส้ใหญ่

3.2 วัตถุประสงค์รอง (Secondary Objective)

เพื่อลดความวิตกกังวลและเขินอายในเปิดเผยร่างกายในส่วนที่ปกปิด

4. วิธีการดำเนินโครงการ (Materials and Methods)

4.1 การออกแบบการวิจัย (Study Design)

-เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการและเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ

-วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติแบบแจกแจงความถี่ ร้อยละ และสรุปผลในเชิงพรรณา

4.2 ประชากรที่ศึกษา (Study Population)

ผู้รับบริการตรวจพิเศษทางรังสีของลำไส้ จำนวน 30 คน

4.3 แหล่งที่มาของประชากร (Source of Study Population)

ผู้รับบริการที่มาตรวจพิเศษทางรังสีของลำไส้

4.4 การได้มาซึ่งประชากรที่ศึกษา (Method of Recruitment of Study Population)

ประชากรและผู้รับบริการทั้งหมดที่มารับบริการตรวจพิเศษทางรังสีของลำไส้ใหญ่ในช่วงวันที่ 1 ต.ค - 31 ต.ค 57

4.5 เกณฑ์การคัดเลือกประชากรที่ศึกษา (Selection Criteria)

4.5.1 เกณฑ์การคัดเลือกผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัคร (Inclusion Criteria)

คัดเลือกจากผู้มารับบริการตรวจพิเศษทางรังสีของลำไส้ใหญ่

4.5.2 เกณฑ์ไม่รับเข้าในการศึกษา (Exclusion Criteria)

ผู้รับบริการที่ไม่ยินยอมเข้าร่วมโครงการ

4.5.3 เกณฑ์การถอนผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัครหรือยุติการเข้าร่วมการวิจัย (Withdrawal or Termination Criteria)

ผู้รับบริการที่ต้องการยกเลิกการเป็นอาสาสมัคร สามารถถอนตัวเมื่อใดก็ได้โดยไม่เสียสิทธิ์ใดๆ

4.6 วิธีการแบ่งกลุ่มประชากรที่ศึกษา (Allocation of Study Population)

แบ่งตาม อายุ เพศ

4.7 จำนวนประชากรที่ต้องการจะศึกษา (Sample Size) และการคำนวณขนาดตัวอย่าง (Sample Size Calculation)

ประชากรทุกรายที่เข้ามารับบริการตรวจ

4.8 ขั้นตอนการศึกษา (Study Procedures)

-เก็บข้อมูลความพึงพอใจ

-ออกแบบการตัดเย็บกางเกง

-นำไปตัดเย็บ

-นำมาใช้งานจริง

-ประเมินผลการใช้งาน

4.9 การวัดผล/การวิเคราะห์ผลการวิจัย (Outcome Measurement/Data Analysis) (กระบวนการวัดผล/ วิเคราะห์ผล รวมถึงสถิติที่ใช้)

เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการและเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ และสรุปเชิงพรรณา

4.10 หลักฐาน ข้อมูล หรือเอกสารอ้างอิงที่แสดงว่าการวิจัยนี้น่าจะมีความปลอดภัยและ/หรือมีประโยชน์ต่อผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัคร/สังคม

ได้รับการอนุมัติในแง่จริยธรรมให้ดำเนินการศึกษาเรื่องนี้ได้จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โรงพยาบาลเลย จังหวัดเลย EC 003/2557

5. แผนการดำเนินการ (Outline of the Study) และผลที่คาดว่าจะได้รับในแต่ละช่วงระยะเวลา

ลดความวิตกกังวลและเขินอายให้แก่ผู้รับบริการตรวจพิเศษลำไส้ใหญ่ มีความไว้วางใจในตัวเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจ และให้ความร่วมมือในการตรวจเป็นอย่างดี

6. ผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อการดำเนินงานเสร็จสิ้นที่เป็นรูปธรรมและตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

มีกางเกงแยกเฉพาะสำหรับตรวจพิเศษทางรังสีของลำไส้ใหญ่ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจระดับมาก ในการใช้กางเกงสำหรับตรวจดังกล่าวและลดขั้นตอนความยุ่งยากระหว่างการตรวจที่ต้องอาศัยการดูแล ปกปิด มิดชิดให้แก่ผู้ป่วย

7 แผนการนำผลงานดังกล่าวออกสู่การใช้ประโยชน์ (Implementation)

ตัดเย็บกางเกงเพิ่มเติมและนำมาใช้กับผู้รับบริการต่อเนื่องหลังจากเสร็จสิ้นการดำเนินการวิจัย

8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

8.1 ประโยชน์ต่อผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัครเป็นรายบุคคล

เป็นการพอทักษ์สิทธิผู้รับบริการไม่ให้เปิดเผยร่างกายมากจนเกินไป

8.2 ประโยชน์ต่อวิชาชีพโดยรวม

เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มงานรังสีวิทยาโรงพยาบาลดลย มีกางเกงเฉพาะสำหรับการตรวจพิเศษทางรังสีของลำไส้ใหญ่ และสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวสามารถนำมาปรับใช้ในการตรวจอัลตราซาวด์ถุงอัณฑะได้ด้วย ทั้งยังสามารถนำไปพัฒนาเพื่อสวมใส่ในการตรวจพิเศษทางรังสีของโพรงมดลูก

8.3 ประโยชน์ต่อสังคม

สิ่งประดิษฐ์นี้เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้รับบริการลดขั้นตอนความยุ่งยากระหว่างการตรวจที่ต้องอาศัยการดูแลปกปิด มิดชิดให้แก่ผู้ป่วย ใส่ใจและเห็นความสำคัญ แม้เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยแต่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง และเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในการประเมินคุณภาพการรักษาพยาบาลที่เน้นผู้ป่วยหรือผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง

8.4 อื่นๆ

เห็นควรให้มีการสนัลสนุนนวตกรรมในลักษณะที่ใส่ใจและเห็นความสำคัญแม้เพียงเล็กน้อยแต่สำคัญเช่นนี้เป็นอย่างยิ่ง

ความก้าวหน้าในการดำเนินการวิจัย/ปัญหาหรืออุปสรรคระหว่างทำวิจัย

-

อัพเดทความเคลื่อนไหว

ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้

อัลบั้มภาพ

ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้

วิดีโอ

ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้
  • อ่าน 3436 คน
  • พิมพ์หน้านี้

แสดงความคิดเห็น

Skip to Top
สุภาวดี เวชกามา's picture
นักวิจัยหลัก: สุภาวดี เวชกามา
เมื่อ 20 เม.ย. 2558

ทีมงาน

นักวิจัย

  • สุภาวดี เวชกามา's picture

ติดต่อ

ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้

รางวัล

ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้

เอกสาร

ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้
ส่งต่อให้เพื่อน

ติดต่อเรา

โครงการสนับสนุนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยระดับประเทศ

อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘o พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕o ชั้น 2
เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700

โทร. 02-419-2661  อีเมล r2r.thai@gmail.com

เครือข่าย R2R | ถาม-ตอบ | ติดต่อเรา

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ R2R
  • ข่าวสารและกิจกรรม
  • เวทีสร้างงานวิจัย
  • คลังความรู้
  • อัลบั้มภาพ
  • เครือข่าย R2R

ติดตามเรา

  • Facebook
  • Twitter
  • Youtube
  • RSS feed