Skip to main content
R2R

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • สมัครสมาชิก
    • ขอรหัสผ่านใหม่
  • |
  • สมัครสมาชิก
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ R2R
  • ข่าวสารและกิจกรรม
    • ข่าวสาร
    • กิจกรรม
  • เวทีสร้างงานวิจัย
  • คลังความรู้
    • วิดีโอ
    • หนังสือ
    • งานวิจัย
    • E-Journal
    • จดหมายข่าว
  • อัลบั้มภาพ
  • เครือข่าย R2R
หน้าแรก » เวทีสร้างงานวิจัย » นวัตกรรมการพัฒนาต้นแบบเมืองสุขภาพดีดิจิตอลออนไลน์ยุคใหม่ Thailand 4.0

นวัตกรรมการพัฒนาต้นแบบเมืองสุขภาพดีดิจิตอลออนไลน์ยุคใหม่ Thailand 4.0

  • ขนาดตัวอักษร  | |

นวัตกรรมการพัฒนาต้นแบบเมืองสุขภาพดีดิจิตอลออนไลน์ยุคใหม่ Thailand 4.0

เชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ (ภบ.เกียรตินิยมอันดับ 1) , สม.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 พิษณุโลก  กรมควบคุมโรค

  

บทคัดย่อ

               ความเป็นมา เขตเมืองคือบริเวณลักษณะเฉพาะที่มีประชากรอยู่อาศัยอย่างหนาแน่นเป็นชุมชน ระยะต่อไปสังคมเปลี่ยนไปสู่ความเป็นเมืองมากขึ้นส่งผลให้เกิดปัญหาโรคและภัยสุขภาพที่ซับซ้อน สังคมเมืองจำเป็นต้องมีการพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดต่อสื่อสารรูปแบบต่างๆได้ตลอด 24 ชั่วโมง ในการช่วยเหลือ และดำเนินกิจกรรมป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ เกิดการแบ่งบันข้อมูลความรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา กระจายข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความต้องการใช้ชีวิตของคนเมืองยุคใหม่

              วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการเชิงรุกมาตรการเตือนภัยการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในรูปแบบสังคมสมมุติออนไลน์ขนาดใหญ่ เกิดการรับรู้ข้อมูลความเสี่ยงสุขภาพตามสถานการณ์ มีความตระหนักในการป้องกันตนเองมากขึ้น วิธีการดำเนินงาน โดยการพัฒนานวัตกรรมต้นแบบเมืองดิจิตอลออนไลน์เตือนภัยโรคและภัยสุขภาพรูปแบบที่ทันสมัย แล้วจัดทำมาตรการเตือนภัยฯ ให้สอดรับกับสถานการณ์พร้อมการเผยแพร่ปฏิสัมพันธ์สู่ประชากรในเขตเมืองอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง   

               ผลการดำเนินงาน พบว่าได้นวัตกรรมต้นแบบ“เมืองสุขภาพดี”ดิจิตอลออนไลน์ โดยมีลักษณะรูปแบบที่สำคัญคือใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สมัยใหม่ ฟรีเว็ปบล็อค http://ubdpc2.blogspot.com มีชุมชนเสมือนย่อยเป็นสื่อสังคมออนไลน์ คือ ชุมชน Facebook, LINE, Twitter, Google plus แล้วสร้างคุณสมบัติให้มีเครื่องมือ“ล่ามอัจฉริยะ”แปลเนื้อหาจากภาษาไทยเป็นภาษาท้องถิ่น เช่น ภาษาม้ง และภาษากลุ่มประเทศอาเซียน เช่น เมียนม่า ลาว เขมร มาลายู เวียดนาม ชวา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ รวมทั้งภาษาต่างๆ ทั่วโลกอีกกว่า 103 ภาษา เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อังกฤษ ฝรั่งเศส เสปน เยอรมัน อาหรับ ละติน ฯลฯ ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ได้โดยไร้เขตแดนทางภาษาและวัฒนธรรม  มีระบบวิเคราะห์สถิติแสดงผลการปฏิสัมพันธ์ในเมืองเป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และเวลาทั้งหมด เป็นรูปแบบตัวเลข แผนภูมิกราฟ เข้าถึงได้จากโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์ มีผู้ร่วมปฏิสัมพันธ์ช่วงเดือน ตุลาคม 2560 ถึง มีนาคม 2561 จำนวน 19 เรื่อง กว่า 1,700 ครั้ง เรื่องยอดนิยมมากที่สุด 5 อันดับ เรียงจากมากไปหาน้อย คือ โรคไข้เลือดออก โรคอุจาระร่วง อุบัติเหตุทางถนน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และโรคไข้หวัดใหญ่

              สรุปและวิจารณ์ ต้นแบบเมืองสุขภาพดีดิจิตอลออนไลน์มีลักษณะที่สำคัญ คือ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ผสมผสานกัน ดำเนินการทางเว็ปบล็อค มีชุมชนย่อยเป็นสื่อสังคมออนไลน์ยอดนิยม มีเครื่องมือล่ามอัจฉริยะแปลเนื้อหาจากภาษาไทยเป็นภาษาท้องถิ่น ภาษากลุ่มประเทศอาเซียน และภาษาสำคัญต่างๆ ทั่วโลกอีกกว่า 103 ภาษา ไร้เขตแดนทางภาษาและวัฒนธรรม มีระบบวิเคราะห์สถิติอัตโนมัติเป็นตัวเลข และแผนภูมิกราฟ ปฏิสัมพันธ์ผ่านโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์ กระจายแบ่งปันข้อมูลความรู้ทางสาธารณะได้ในวงกว้าง รวดเร็ว ภายในเวลาอันสั้น ไร้รอยต่อข้อจำกัดด้านเวลาและพื้นที่ สื่อสารทางตรงถึงประชาชนเหมาะสมกับวิถีชีวิตคนเมือง ข้อเสนอแนะ  ทิศทางการใช้ประโยชน์ในระยะต่อไป หน่วยงานส่วนกลางและหน่วยงานในระดับพื้นที่ ควรดำเนินการรวบรวมเทคนิควิธีการนวัตกรรมฯ นี้ แล้วประยุกต์ขยายผลกระตุ้นคนเมืองรุ่นใหม่ผ่านช่องทางสาธารณะต่างๆ ให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงบริการความรู้ในการป้องกันตนเอง ปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม รู้วิธีการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ป้องกันตนเองล่วงหน้า จะช่วยลดหรือบรรเทาความรุนแรงของโรคและภัยสุขภาพ มุ่งสู่สังคมเมืองสุขภาพดีถ้วนหน้า

คำสำคัญ : เขตเมือง , ออนไลน์, โรคและภัยสุขภาพ, นวัตกรรม,

ป้ายคำ: 
เขตเมือง
ป้ายคำ: 
ออนไลน์
ป้ายคำ: 
โรคและภัยสุขภาพ
ป้ายคำ: 
นวัตกรรม

พัฒนาโครงร่างวิจัย

1. ชื่อโครงการ (ภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ)

นวัตกรรมการพัฒนาต้นแบบเมืองสุขภาพดีดิจิตอลออนไลน์ยุคใหม่ Thailand 4.0

2. ภูมิหลังและที่มาของโครงการ (Background and Rational)

เขตเมืองคือบริเวณลักษณะเฉพาะที่มีประชากรอยู่อาศัยอย่างหนาแน่นเป็นชุมชน ระยะต่อไปสังคมเปลี่ยนไปสู่ความเป็นเมืองมากขึ้นส่งผลให้เกิดปัญหาโรคและภัยสุขภาพที่ซับซ้อน สังคมเมืองจำเป็นต้องมีการพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดต่อสื่อสารรูปแบบต่างๆได้ตลอด 24 ชั่วโมง ในการช่วยเหลือ และดำเนินกิจกรรมป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ เกิดการแบ่งบันข้อมูลความรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา กระจายข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความต้องการใช้ชีวิตของคนเมืองยุคใหม่

3. วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย (Objective)

3.1 วัตถุประสงค์หลัก (Primay Objective)

เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการเชิงรุกมาตรการเตือนภัยการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในรูปแบบสังคมสมมุติออนไลน์ขนาดใหญ่ 

3.2 วัตถุประสงค์รอง (Secondary Objective)

เกิดการรับรู้ข้อมูลความเสี่ยงสุขภาพตามสถานการณ์ มีความตระหนักในการป้องกันตนเองมากขึ้น

4. วิธีการดำเนินโครงการ (Materials and Methods)

4.1 การออกแบบการวิจัย (Study Design)

โดยการพัฒนานวัตกรรมต้นแบบเมืองดิจิตอลออนไลน์เตือนภัยโรคและภัยสุขภาพรูปแบบที่ทันสมัย แล้วจัดทำมาตรการเตือนภัยฯ ให้สอดรับกับสถานการณ์พร้อมการเผยแพร่ปฏิสัมพันธ์สู่ประชากรในเขตเมืองอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง   

4.2 ประชากรที่ศึกษา (Study Population)

ประชาชนทั่วไปที่สามารถเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ต

4.3 แหล่งที่มาของประชากร (Source of Study Population)

จากการค้นหาทางอินเตอร์เน็ต , เชื่อมต่อมาจากสื่อสังคมออนไลน์

4.4 การได้มาซึ่งประชากรที่ศึกษา (Method of Recruitment of Study Population)

จากระบบวิเคราะห์สถิติแสดงผลการปฏิสัมพันธ์อัตโนมัติ

4.5 เกณฑ์การคัดเลือกประชากรที่ศึกษา (Selection Criteria)

4.5.1 เกณฑ์การคัดเลือกผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัคร (Inclusion Criteria)

โดยความสมัครใจ

4.5.2 เกณฑ์ไม่รับเข้าในการศึกษา (Exclusion Criteria)

-

4.5.3 เกณฑ์การถอนผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัครหรือยุติการเข้าร่วมการวิจัย (Withdrawal or Termination Criteria)

-

4.6 วิธีการแบ่งกลุ่มประชากรที่ศึกษา (Allocation of Study Population)

จากระบบวิเคราะห์สถิติแสดงผลการปฏิสัมพันธ์อัตโนมัติ

4.7 จำนวนประชากรที่ต้องการจะศึกษา (Sample Size) และการคำนวณขนาดตัวอย่าง (Sample Size Calculation)

-

4.8 ขั้นตอนการศึกษา (Study Procedures)

พัฒนานวัตกรรมต้นแบบเมืองดิจิตอลออนไลน์เตือนภัยโรคและภัยสุขภาพรูปแบบที่ทันสมัย แล้วจัดทำมาตรการเตือนภัยฯ ให้สอดรับกับสถานการณ์พร้อมการเผยแพร่ปฏิสัมพันธ์สู่ประชากรในเขตเมืองอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง  และประเมินผลจากระบบวิเคราะห์สถิติแสดงผลการปฏิสัมพันธ์อัตโนมัติ

4.9 การวัดผล/การวิเคราะห์ผลการวิจัย (Outcome Measurement/Data Analysis) (กระบวนการวัดผล/ วิเคราะห์ผล รวมถึงสถิติที่ใช้)

จากระบบวิเคราะห์สถิติจำนวนและร้อยละแสดงผลการปฏิสัมพันธ์อัตโนมัติ รายวัน รายสัปดาห์  รายเดือน ทั้งหมด โดยจำแนกรายเรื่องของเนื้อหา

4.10 หลักฐาน ข้อมูล หรือเอกสารอ้างอิงที่แสดงว่าการวิจัยนี้น่าจะมีความปลอดภัยและ/หรือมีประโยชน์ต่อผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัคร/สังคม

เป็นลักษณะบทความทางวิชาการ ที่อ้างอิงทางการแพทย์และสาธารณสุข

5. แผนการดำเนินการ (Outline of the Study) และผลที่คาดว่าจะได้รับในแต่ละช่วงระยะเวลา

ดำเนินการตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2560 เป็นต้นมา และปรับปรุงเนื้อหาบทความใหม่ทุก 1 เดือน ต่อไปข้างหน้าโดยไม่กำหนดเวลาสิ้นสุด

6. ผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อการดำเนินงานเสร็จสิ้นที่เป็นรูปธรรมและตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

กลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงบริการความรู้ในการป้องกันตนเอง ปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม รู้วิธีการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ป้องกันตนเองล่วงหน้า จะช่วยลดหรือบรรเทาความรุนแรงของโรคและภัยสุขภาพ มุ่งสู่สังคมเมืองสุขภาพดีถ้วนหน้า

7 แผนการนำผลงานดังกล่าวออกสู่การใช้ประโยชน์ (Implementation)

นำเสนอในเวทีวิชาการต่างๆ และเผยแพร่ทางเว็ปไซต์หน่วยงานต่างๆ ที่รวบรวมผลงาน R2R

8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

8.1 ประโยชน์ต่อผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัครเป็นรายบุคคล

กลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงบริการความรู้ในการป้องกันตนเอง ปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม รู้วิธีการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ป้องกันตนเองล่วงหน้า

8.2 ประโยชน์ต่อวิชาชีพโดยรวม

พัฒนารูปแบบการป้องกันควบคุมโรคโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

8.3 ประโยชน์ต่อสังคม

ช่วยลดหรือบรรเทาความรุนแรงของโรคและภัยสุขภาพ มุ่งสู่สังคมเมืองสุขภาพดีถ้วนหน้า

8.4 อื่นๆ

-

ความก้าวหน้าในการดำเนินการวิจัย/ปัญหาหรืออุปสรรคระหว่างทำวิจัย

มีความก้าวหน้าสม่ำเสมอตามแผน

อัพเดทความเคลื่อนไหว

ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้

อัลบั้มภาพ

ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้

วิดีโอ

ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้
  • อ่าน 4095 คน
  • พิมพ์หน้านี้

แสดงความคิดเห็น

Skip to Top
เชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ's picture
นักวิจัยหลัก: เชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ
เมื่อ 7 มิ.ย. 2561

ทีมงาน

ติดต่อ

Email : ubdpc2@gmail.com และเว็ปไซต์ http://ubdpc2.blogspot.com

รางวัล

ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้

เอกสาร

  • abstact_onlinecity.pdf
    (.pdf | 77kb)
  • poster_onlinecity.pdf
    (.pdf | 239kb)
ส่งต่อให้เพื่อน

ติดต่อเรา

โครงการสนับสนุนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยระดับประเทศ

อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘o พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕o ชั้น 2
เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700

โทร. 02-419-2661  อีเมล r2r.thai@gmail.com

เครือข่าย R2R | ถาม-ตอบ | ติดต่อเรา

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ R2R
  • ข่าวสารและกิจกรรม
  • เวทีสร้างงานวิจัย
  • คลังความรู้
  • อัลบั้มภาพ
  • เครือข่าย R2R

ติดตามเรา

  • Facebook
  • Twitter
  • Youtube
  • RSS feed