Skip to main content
R2R

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • สมัครสมาชิก
    • ขอรหัสผ่านใหม่
  • |
  • สมัครสมาชิก
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ R2R
  • ข่าวสารและกิจกรรม
    • ข่าวสาร
    • กิจกรรม
  • เวทีสร้างงานวิจัย
  • คลังความรู้
    • วิดีโอ
    • หนังสือ
    • งานวิจัย
    • E-Journal
    • จดหมายข่าว
  • อัลบั้มภาพ
  • เครือข่าย R2R
หน้าแรก » เวทีสร้างงานวิจัย » การพัฒนาการจัดการโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน ผ่านช่องทางด่วน ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครปฐม (Development of Stroke Fast Track Management in Emergency Department, Nakhonpathom Hospital)

การพัฒนาการจัดการโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน ผ่านช่องทางด่วน ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครปฐม (Development of Stroke Fast Track Management in Emergency Department, Nakhonpathom Hospital)

  • ขนาดตัวอักษร  | |

พัฒนาโครงร่างวิจัย

1. ชื่อโครงการ (ภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ)

การพัฒนาการจัดการโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน ผ่านช่องทางด่วน ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครปฐม (Development of Stroke Fast Track Management in Emergency Department, Nakhonpathom Hospital)

2. ภูมิหลังและที่มาของโครงการ (Background and Rational)

การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน (acute ischemic stroke) ด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ (intravenous recombinant tissue plasminogen activator; IV rtPA) ในผู้ป่วยที่มีอาการภายใน 4.5 ชั่วโมง (270 นาที) เป็นมาตรฐานสากลในการรักษา สามารถลดภาวะทุพพลภาพและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันในประเทศไทยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดมีเพียงร้อยละ 1.95 ซึ่งอยู่ในระดับน้อยเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว อาทิเช่น ประเทศแคนาดาได้รับยาร้อยละ 8.9 และสหรัฐอเมริกาได้รับยาร้อยละ 3.0-8.53 หลายยุทธวิธีได้ถูกใช้ในการพัฒนาเพื่อทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด4 เช่น การตระหนักรู้ของประชาชนเกี่ยวกับโรค ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน(emergency medical services; EMS) ระบบการจัดการที่ห้องฉุกเฉิน ซึ่งการพัฒนาย่อมเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีภาระโรค (burden of disease) สูง หลักฐานปัจจุบันพบว่า ข้อมูลปีสุขภาวะที่สูญเสียไปจากโรคและการบาดเจ็บของประชากร (disability-adjusted lifeyears; DALYs) ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของประเทศไทย พ.ศ. 2557 นั้น มากเป็นอันดับสองทั้งในผู้ป่วยชายและหญิง นอกจากนั้นหากพิจารณาเฉพาะกลุ่มประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป พบว่าสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งทั้งในกลุ่มผู้ป่วยชายและหญิง

ระบบการจัดการที่ห้องฉุกเฉินเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สามารถพัฒนาให้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มโรคที่มีปัจจัยด้านเวลาส่งผลต่อการรักษา อย่างเช่นโรคหลอดเลือดสมอง การพัฒนาการจัดการเพื่อให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่มาห้องฉุกเฉินภายใน 4.5 ชั่วโมง หลังจากเริ่มมีอาการมีโอกาสได้รับยาละลายลิ่มเลือดตามมาตรฐานสากลอีกทั้งสามารถให้ยาได้อย่างเร็วที่สุดเพื่อฟื้นคืนเลือดไปเลี้ยงสมองนั้นส่งผลดีต่อการลดภาวะทุพพลภาพของผู้ป่วย ดังวลีที่ว่า “time is brain” พบว่าทุกๆ 1 นาทีที่ผ่านไป ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดที่ไม่ได้รับการรักษาจะสูญเสียเซลล์ประสาทจำนวน 1.9 ล้านเซลล์จากจำนวนเซลล์สมองเฉลี่ยประมาณ 130 พันล้านเซลล์ทั้งนี้มีคำแนะนำในปัจจุบันให้ผู้ป่วยควรได้รับยาภายใน60 นาทีหลังจากมาถึงโรงพยาบาล

ดังนั้นโรงพยาบาลนครปฐมจึงได้มีการพัฒนาระบบช่องทางด่วนเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน ณ ห้องฉุกเฉิน และได้ศึกษาผลการดำเนินการดังกล่าวเมื่อดำเนินการครบ 1 ปี เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาต่อไป

3. วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย (Objective)

3.1 วัตถุประสงค์หลัก (Primay Objective)

เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการพัฒนาการจัดการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันผ่านช่องทางด่วน ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครปฐม

3.2 วัตถุประสงค์รอง (Secondary Objective)

-

4. วิธีการดำเนินโครงการ (Materials and Methods)

4.1 การออกแบบการวิจัย (Study Design)

เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ โดยเก็บข้อมูลย้อนหลัง ผ่านการทบทวนเวชระเบียนข้อมูลที่ถูกบันทึกในคอมพิวเตอร์จากห้องฉุกเฉิน แผนกหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและแผนกข้อมูลโรงพยาบาลนครปฐมซึ่งได้ผ่านการพิจารณาและรับรองโดยคณะกรรมการพิจารณาการศึกษาวิจัยในคน โรงพยาบาลนครปฐมตามแนวทางหลักจริยธรรมการวิจัยในมุนษย์ที่เป็นมาตรฐานสากล COA No. 024/2017

เก็บข้อมูลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2558 - มีนาคม พ.ศ. 2560 โดยเปรียบเทียบเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ระยะที่ 1 เดือนเมษายนพ.ศ. 2558 - มีนาคม พ.ศ. 2559 และระยะที่ 2 เดือนเมษายน พ.ศ. 2559 - มีนาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นช่วงหลังจากมีการพัฒนาระบบการจัดการให้ยาละลายลิ่มเลือด ณ ห้องฉุกเฉิน

ปัจจัยสำคัญแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ข้อมูลทั่วไปและประสิทธิผลของการพัฒนา ด้านข้อมูลทั่วไปประกอบด้วย อายุ เพศ สิทธิรักษา ช่วงเวลาที่มาโรงพยาบาล (เช้า 08.00 - 15.59 น. บ่าย 16.00 - 23.59 น.ดึก 00.00 - 07.59 น.) วิธีการมาโรงพยาบาล ค่า national institutes of health stroke scale (NIHSS) ข้อมูลประสิทธิผลของการพัฒนา ประกอบด้วย ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลจนกระทั่งได้รับยาละลายลิ่มเลือด (door-to-needle) ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการจนกระทั่งได้รับยาละลายลิ่มเลือด(onset-to-treatment) จำนวนผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มภายใน 60 นาที และจำนวนผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งครอบคลุม intracranial hemorrhage (ICH),symptomatic intracranial hemorrhage (sICH) การผ่าตัด และการเสียชีวิต

4.2 ประชากรที่ศึกษา (Study Population)

ข้อมูลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2558 - มีนาคม พ.ศ. 2560 โดยเปรียบเทียบเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ระยะที่ 1 เดือนเมษายนพ.ศ. 2558 - มีนาคม พ.ศ. 2559 และระยะที่ 2 เดือนเมษายน พ.ศ. 2559 - มีนาคม พ.ศ. 2560

4.3 แหล่งที่มาของประชากร (Source of Study Population)

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2558 - มีนาคม พ.ศ. 2560 ในรพ.นครปฐม

4.4 การได้มาซึ่งประชากรที่ศึกษา (Method of Recruitment of Study Population)

-

4.5 เกณฑ์การคัดเลือกประชากรที่ศึกษา (Selection Criteria)

4.5.1 เกณฑ์การคัดเลือกผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัคร (Inclusion Criteria)

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2558 - มีนาคม พ.ศ. 2560

4.5.2 เกณฑ์ไม่รับเข้าในการศึกษา (Exclusion Criteria)

-

4.5.3 เกณฑ์การถอนผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัครหรือยุติการเข้าร่วมการวิจัย (Withdrawal or Termination Criteria)

-

4.6 วิธีการแบ่งกลุ่มประชากรที่ศึกษา (Allocation of Study Population)

-

4.7 จำนวนประชากรที่ต้องการจะศึกษา (Sample Size) และการคำนวณขนาดตัวอย่าง (Sample Size Calculation)

-

4.8 ขั้นตอนการศึกษา (Study Procedures)

-

4.9 การวัดผล/การวิเคราะห์ผลการวิจัย (Outcome Measurement/Data Analysis) (กระบวนการวัดผล/ วิเคราะห์ผล รวมถึงสถิติที่ใช้)

นำเสนอข้อมูลด้วยจำนวนและร้อยละ ข้อมูลต่อเนื่องถูกนำเสนอด้วย ค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหากมีการกระจายตัวแบบปรกติ และมัธยฐาน (พิสัยระหว่างควอไทล์, interquartile range; IQR) การเปรียบเทียบข้อมูลต่อเนื่อง 2 กลุ่ม ที่เป็นอิสระต่อกันใช้ independent sample t test เมื่อมีการกระจายตัวแบบปกติ ใช้Wilcoxson rank sum test เมื่อมีการกระจายตัวแบบไม่ปกติ ส่วนการเปรียบเทียบข้อมูลกลุ่ม 2 กลุ่ม ที่เป็นอิสระต่อกันใช้ chi-squared test หรือ Fisher’s exact test เมื่อไม่ผ่านกฎของการใช้ chi-squared test การเปรียบเทียบข้อมูลต่อเนื่องมากกว่า 2 กลุ่ม ใช้ one way analysis of variance(one way ANOVA) กำหนดให้ผลการศึกษามีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อ p value <0.05

4.10 หลักฐาน ข้อมูล หรือเอกสารอ้างอิงที่แสดงว่าการวิจัยนี้น่าจะมีความปลอดภัยและ/หรือมีประโยชน์ต่อผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัคร/สังคม

-

5. แผนการดำเนินการ (Outline of the Study) และผลที่คาดว่าจะได้รับในแต่ละช่วงระยะเวลา

-

6. ผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อการดำเนินงานเสร็จสิ้นที่เป็นรูปธรรมและตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

-

7 แผนการนำผลงานดังกล่าวออกสู่การใช้ประโยชน์ (Implementation)

-

8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

8.1 ประโยชน์ต่อผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัครเป็นรายบุคคล

เพื่อทราบผลการดำเนินการพัฒนา 

เพื่อเป็นกำลังใจ และเสริมสร้างพลังในการพัฒนาระบบงานของผู้มี่ส่วนเกี่ยวข้อง

8.2 ประโยชน์ต่อวิชาชีพโดยรวม

เพื่อนำเสนอแนวทางการปฏิบัติและผลการดำเนินการอีกรูปแบบ ในการพัฒนาการจัดการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน : Stroke Fast Track 

8.3 ประโยชน์ต่อสังคม

การพัฒนาการจัดการช่องทางด่วนที่ห้องฉุกเฉิน ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสได้รับการรักษาโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันด้วยยาละลายลิ่มเลือด เป็นไปตามมาตรฐานสากล ส่งผลต่อการลดภาวะทุพพลภาพและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย 

8.4 อื่นๆ

-

ความก้าวหน้าในการดำเนินการวิจัย/ปัญหาหรืออุปสรรคระหว่างทำวิจัย

-

อัพเดทความเคลื่อนไหว

ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้

อัลบั้มภาพ

ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้

วิดีโอ

ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้
  • อ่าน 4474 คน
  • พิมพ์หน้านี้

แสดงความคิดเห็น

Skip to Top
บดีภัทร วรฐิติอนันต์'s picture
นักวิจัยหลัก: บดีภัทร วรฐิติอนันต์
เมื่อ 31 มี.ค. 2561

ทีมงาน

ติดต่อ

ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้

รางวัล

ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้

เอกสาร

  • stroke_nkp_2387-2463-1-pb.pdf
    (.pdf | 645kb)
ส่งต่อให้เพื่อน

ติดต่อเรา

โครงการสนับสนุนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยระดับประเทศ

อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘o พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕o ชั้น 2
เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700

โทร. 02-419-2661  อีเมล r2r.thai@gmail.com

เครือข่าย R2R | ถาม-ตอบ | ติดต่อเรา

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ R2R
  • ข่าวสารและกิจกรรม
  • เวทีสร้างงานวิจัย
  • คลังความรู้
  • อัลบั้มภาพ
  • เครือข่าย R2R

ติดตามเรา

  • Facebook
  • Twitter
  • Youtube
  • RSS feed