Skip to main content
R2R

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • สมัครสมาชิก
    • ขอรหัสผ่านใหม่
  • |
  • สมัครสมาชิก
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ R2R
  • ข่าวสารและกิจกรรม
    • ข่าวสาร
    • กิจกรรม
  • เวทีสร้างงานวิจัย
  • คลังความรู้
    • วิดีโอ
    • หนังสือ
    • งานวิจัย
    • E-Journal
    • จดหมายข่าว
  • อัลบั้มภาพ
  • เครือข่าย R2R
หน้าแรก » เวทีสร้างงานวิจัย » ผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงบ้าน จังหวัดอุดรธานี (The results of Continuity Of Care (COC) system development in Udon Thani Province.)

ผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงบ้าน จังหวัดอุดรธานี (The results of Continuity Of Care (COC) system development in Udon Thani Province.)

  • ขนาดตัวอักษร  | |

พัฒนาโครงร่างวิจัย

1. ชื่อโครงการ (ภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ)

ผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงบ้าน จังหวัดอุดรธานี (The results of Continuity Of Care (COC) system development in Udon Thani Province.)

2. ภูมิหลังและที่มาของโครงการ (Background and Rational)

การดูแลต่อเนื่อง เป็นการดูแลที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาความสามารถของผู้ป่วยในการดูแลตนเองตามศักยภาพที่มีอยู่ เน้นให้ผู้ป่วยแสวงหาและใช้แหล่งประโยชน์ต่างๆ ในการดูแลตนเอง ซึ่งการดูแลผู้ป่วยทั้งที่บ้านและที่โรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องได้รับการการร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากโรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และที่บ้านของผู้ป่วย ซึ่งการดูแลผู้ป่วยที่บ้านเป็นการดูแลที่ผู้ป่วยต้องการหลังจากจำหน่ายจากโรงพยาบาล โดยมีทีมสุขภาพให้การสนับสนุน มีการวางแผนจำหน่ายร่วมกับผู้ป่วยและครอบครัว  เพื่อการให้บริการอย่างต่อเนื่องกับผู้ป่วยและครอบครัวทั้งที่โรงพยาบาลและที่บ้านที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวภายใต้การจัดระบบบริหารจัดการและการบริการที่มีความพร้อม ของผู้ให้บริการสุขภาพ โดยมีทีมงานระดับจังหวัดเป็นผู้ให้การสนับสนุนการดำเนินงานต่าง ๆ ให้มีระบบและกลไกการบริหาร ดำเนินการและติดตามประเมินผลการดำเนินงานต่าง ๆ หลังจากที่มีการพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงบ้าน ที่เน้นการมีส่วนร่วมของสหวิชาชีพ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมสุขภาพ การดำรงรักษาสุขภาพและคงสภาวะสุขภาพที่ดีหรือในระดับที่สามารถพึ่งตนเองของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด และให้ผู้ป่วย/ครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งผู้ให้บริการสุขภาพมีความสุข ซึ่งสามารถอธิบายผลการดำเนินงานต่าง ๆ จากการติดตามประเมินผลตัวชี้วัดต่าง ๆ ที่ได้ร่วมกันปรับปรุงและพัฒนาขึ้น 

3. วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย (Objective)

3.1 วัตถุประสงค์หลัก (Primay Objective)

เพื่อศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงบ้าน จังหวัดอุดรธานีตามตัวชี้วัดต่าง ๆ ที่ได้กำหนดขึ้น

3.2 วัตถุประสงค์รอง (Secondary Objective)

-

4. วิธีการดำเนินโครงการ (Materials and Methods)

4.1 การออกแบบการวิจัย (Study Design)

การศึกษาเชิงพรรณา (Descriptive Study) เพื่อศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงบ้าน (Continuity Of Care: COC) จังหวัดอุดรธานี ในศูนย์ดูแลต่อเนื่องของโรงพยาบาล จำนวน 18 แห่ง ในเครือข่ายจังหวัดอุดรธานี โดยใช้แนวคำถามและแบบเก็บรวบรวมข้อมูลที่คณะผู้ศึกษาได้จัดทำขึ้น ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน

4.2 ประชากรที่ศึกษา (Study Population)

1. ศูนย์ดูแลต่อเนื่อง ในโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานีและโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 18 แห่ง 

2. ผู้ป่วยที่ได้รับการจำหน่ายจากโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานีและโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดอุดรธานี  

3. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบศูนย์ดูแลต่อเนื่องในโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานีและโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 18 คน  

4.3 แหล่งที่มาของประชากร (Source of Study Population)

1. จากทะเบียนรายชื่อของผู้ป่วยที่ได้รับการจำหน้ายออกจากโรงพยาบาลที่ผ่านศูนย์ดูแลต่อเนื่อง ในโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานีและโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดอุดรธานี 

2. ทะเบียนรายชื่อผู้รับผิดชอบศูนย์ดูแลต่อเนื่อง ในโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานีและโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดอุดรธานี

4.4 การได้มาซึ่งประชากรที่ศึกษา (Method of Recruitment of Study Population)

1. ติดตามผู้ป่วยที่ได้รับการจำหน้ายออกจากโรงพยาบาลที่ผ่านศูนย์ดูแลต่อเนื่อง ในโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานีและโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดอุดรธานีทุกรายเพื่อติดตาม ประเมินผลการให้การบริการหลังจากจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล (Purposive sampling) โดยเน้นผู้ป่วยเตียงประเภทที่ 3 ทุกราย 

2. Purposive sampling ผู้รับผิดชอบดูแลต่อเนื่อง ในโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานีและโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดอุดรธานี ทุกราย 

4.5 เกณฑ์การคัดเลือกประชากรที่ศึกษา (Selection Criteria)

4.5.1 เกณฑ์การคัดเลือกผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัคร (Inclusion Criteria)

1. ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากทีมดูแลผู้ป่วย (Patient Care Team: PCT) และจัดเป็นเตียงประเภทที่ 3 และ Palliative care

2. เต็มใจเข้าร่วมการศึกษา

3. สามารถสื่อสารกับทีมผู้วิจัยด้วยภาษาไทยได้

4.5.2 เกณฑ์ไม่รับเข้าในการศึกษา (Exclusion Criteria)

1. ผู้ป่วยที่ไม่สามารถพูดหรือสื่อสารด้วยภาษาไทยได้

4.5.3 เกณฑ์การถอนผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัครหรือยุติการเข้าร่วมการวิจัย (Withdrawal or Termination Criteria)

1. ผู้ป่วยเสียชีวิตระหว่างการติดตามประเมินผล

4.6 วิธีการแบ่งกลุ่มประชากรที่ศึกษา (Allocation of Study Population)

-

4.7 จำนวนประชากรที่ต้องการจะศึกษา (Sample Size) และการคำนวณขนาดตัวอย่าง (Sample Size Calculation)

การศึกษาในครั้งนี้ไม่มีการคำนวณขนาดตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่าง เนื่องจากเป็นการติดตามผู้ป่วยเตียงประเภทที่ 3 และ Palliative care ทุกราย เพื่อติดตามผลการให้บริการดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงบ้าน 

4.8 ขั้นตอนการศึกษา (Study Procedures)

1. ประชุมคณะทำงาน ผู้รับผิดชอบศูนย์ดูแลต่อเนื่อง ในโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานีและโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดอุดรธานี 

2. ร่วมกันพิจารณา ปรับปรุงและกำหนดตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับการดูแลต่อเนื่องทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

3. จัดตั้งทีมผู้วิจัยในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานต่าง ๆ ตามตัวชี้วัดที่ได้ร่วมกันพัฒนาขึ้น

4. พัฒนาแนวคำถามและแบบเก็บรวบรวมข้อมูล ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ ทดสอบความตรงและความเที่ยงของแนวคำถามและแบบเก็บรวบรวมข้อมูล 

5. เก็บรวบรวมข้อมูล ติดตาม ประเมินผลการดูแลต่อเนื่อง ในโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานีและโรงพยาบาลชุมชน ทุกแห่ง ในผู้ป่วยเตียงประเภทที่ 3 และ Palliative care โดยผู้รับผิดชอบศูนย์ดูแลต่อเนื่องแบบไขว้โซนร่วมกับทีมผู้วิจัย

ุ6. วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลและนำเสนอผลการดำเนินงานแก่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อทราบ 

4.9 การวัดผล/การวิเคราะห์ผลการวิจัย (Outcome Measurement/Data Analysis) (กระบวนการวัดผล/ วิเคราะห์ผล รวมถึงสถิติที่ใช้)

การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย ดำเนินการ ดังนี้

          ข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากการเก็บรวมรวมข้อมูล นำมาตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนสมบูรณ์ บันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐานและ Z-test

          ข้อมูลเชิงคุณภาพ ทำการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Data triangulation) โดยตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งที่ต่างกัน ใช้วิธีเก็บข้อมูลที่ต่างกัน เพื่อยืนยันว่าข้อมูลถูกต้อง เป็นจริง และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ที่ได้จากผู้ให้ข้อมูลเพื่อสรุปเชื่อมโยงความสัมพันธ์และเหตุผลในประเด็นปัญหาที่ศึกษา

4.10 หลักฐาน ข้อมูล หรือเอกสารอ้างอิงที่แสดงว่าการวิจัยนี้น่าจะมีความปลอดภัยและ/หรือมีประโยชน์ต่อผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัคร/สังคม

-

5. แผนการดำเนินการ (Outline of the Study) และผลที่คาดว่าจะได้รับในแต่ละช่วงระยะเวลา

-

6. ผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อการดำเนินงานเสร็จสิ้นที่เป็นรูปธรรมและตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

ตัวชี้วัด

เป้าหมาย

ผลงาน (ร้อยละ)

z

p-value

95%CI

1. ผู้ป่วยเตียงประเภท 3 ได้รับการวางแผนจำหน่ายและส่งต่อเพื่อเยี่ยมบ้านออกจากโรงพยาบาล

ร้อยละ 80

97.87

18.29

<0.001*

97.33 - 98.67

1.1 การเยี่ยมบ้านเตียง 3 ภายใน 1-2 สัปดาห์

> ร้อยละ 90

91.91

2.75

0.005*

90.71 - 93.29

2. ผู้ป่วยเตียงประเภท 3 ได้รับการวางแผนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ได้รับการตอบกลับผลการเยี่ยมบ้าน ภายใน 1 เดือน

ร้อยละ 70

68.76

-0.90

0.37

66.80 - 71.19

2.1 คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเตียง 3 (ตามมาตรฐาน Barthel ADL Index) ดีขึ้น (ยกเว้นกลุ่ม Palliative Care)

ร้อยละ 50

74.67

19.37

<0.001*

72.81 - 77.19

3. กลุ่มผู้ป่วย Palliative care ได้รับการจัดการอาการรบกวน (ปวด การหายใจ ท้องผูก) 

ร้อยละ 80

96.77

7.85

<0.001*

95.19 - 98.81

4. ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง มีการใช้ยาที่ถูกต้อง

ร้อยละ 80

98.19

86.04

<0.001*

97.86 - 98.14

5. ร้อยละของผู้ป่วย stroke ที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยนักกายภาพบำบัดก่อนและหลังจำหน่ายในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องภายใน 6 เดือน

> ร้อยละ 80

97.85

18.43

<0.001*

97.33 - 98.67

6. การเกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงเพิ่มขึ้น

< ร้อยละ 10

5.08

-42.80

<0.001*

4.83 - 5.17

6.1 การเกิด Complication ที่สามารถป้องกันได้ในผู้ป่วย (แผลกดทับ ข้อติด ปอดบวม UTI Falls Infected wound)

ไม่เกิน ร้อยละ 20

0.96

-38.09

<0.001*

0.76 - 1.24

6.2 ร้อยละของการเกิดปัญหาสุขภาพระยะยาว (Re-admitted) ด้วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ใน 28 วัน

ไม่เกินร้อยละ 5

0.24

-38.21

<0.001*

0.15 - 0.25

6.3 ร้อยละของการเกิดปัญหาสุขภาพระยะสั้น (Re-visited) ด้วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ภายใน 48 ชั่วโมง

ไม่เกินร้อยละ 2

0.49

-18.84

<0.001*

0.42 - 0.58

* Significant 0.05

7 แผนการนำผลงานดังกล่าวออกสู่การใช้ประโยชน์ (Implementation)

1. จากการศึกษาในครั้ง สามารถพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงบ้าน จังหวัดอุดรธานี ทำให้ได้คู่มือในการดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงบ้าน จังหวัดอุดรธานี 1 ฉบับ 

2. มีชุดตัวชี้วัดที่ได้จากการพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงบ้าน จังหวัดอุดรธานี 1 ชุด 

3. มีการขยายผลจากคู่มือการดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงบ้าน จังหวัดอุดรธานีและจากชุดตัวชี้วัด ที่ได้พัฒนาขึ้น เพื่อใช้ในการดำเนินการดูแลต่อเนื่องและ Long Term Care ของเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 8 (7 จังหวัด)  

4. รับเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับดูงานจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น หลักสูตรผู้บริหารทางการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะผู้บริหารทางการพยาบาลจากโรงพยาบาลศิริราช 

5. รับเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับดูงานจากจังหวัดต่าง ๆ เช่น จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดสระบุรี เป็นต้น

8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

8.1 ประโยชน์ต่อผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัครเป็นรายบุคคล

1. ผู้ป่วยได้รับการดูแลตต่อเนื่องตามรูปแบบที่ได้พัฒนาขึ้นอย่างเหมาะสมตามความต้องการของผู้ป่วยเฉพาะราย 

2. ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลต่อเนื่อง มีผลลัพธ์ในการดูแลที่ดี ไม่พบภาวะแทรกซ้อนทั้งจากภาวะของโรคและจากการดูแลต่อเนื่อง 

8.2 ประโยชน์ต่อวิชาชีพโดยรวม

1. มีแนวทางการดูแลต่อเนื่องที่สามารถนำไปใช้และปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาล วิชาชีพ ผู้ป่วย/ผู้รับบริการและญาติ 

2. ทราบผลของการดูแลต่อเนื่องตามรูปแบบที่ได้พัฒนาขึ้น เพื่อประยุกต์ใช้และพัฒนารูปแบบใหม่ที่เหมาะสมมากขึ้น

3. มีแนวทางในการติดตามประเมินผลการดูแลต่อเนื่องทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพในการดูแลผู้ป่วย  

8.3 ประโยชน์ต่อสังคม

1. ผู้ป่วยและญาติ ได้รับการดูแลต่อเนื่องที่เหมาะสมกับภาวะของโรคหรือเหมาะสมกับความต้องการ จนสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างปกติสุขและม่เป็นภาระพึ่งพิงทางสังคม 

2. มีช่องทางการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายทางสังคมที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ป่วยและญาติ

8.4 อื่นๆ

--

ความก้าวหน้าในการดำเนินการวิจัย/ปัญหาหรืออุปสรรคระหว่างทำวิจัย

  1. การกำหนดเป้าหมายการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน ซึ่งพบว่ามีเพียงการกำหนดปัญหาเฉพาะของแต่ละวิชาชีพเท่านั้นและการกำหนดเป้าหมายการดูแล แล้วแต่ผู้ป่วยแต่ละราย พบว่ามีการกำหนดเรื่องเป้าหมายการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมที่ชัดเจนในทีมสหวิชาชีพค่อนข้างน้อย
  2. กรณีการส่งต่อเพื่อรับการดูแลรักษาต่อเนื่องจากโรงพยาบาลศูนย์ไปที่โรงพยาบาลชุมชน ควรมีการประสานความพร้อมของโรงพยาบาลชุมชนก่อนที่จะส่งต่อผู้ป่วยกลับมารับการรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาล เช่น ความพร้อมของเตียง อุปกรณ์ในการดูแล และสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยของเจ้าหน้าที่ในกลุ่มโรคนั้น ๆ
  3. ในการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยก่อนการจำหน่ายเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน นอกจากจะมีการเตรียมพร้อมตามเกณฑ์การวางแผนจำหน่าย ควรมีการประเมินทักษะของผู้ป่วย/ผู้ดูแล ว่ามีความพร้อมและสามารถดูแลตนเองก่อนการจำหน่ายหรือไม่ รวมทั้งมีการสื่อสารผลการประเมินทักษะที่สำคัญให้บุคลากรสุขภาพ รวมทั้งผู้ป่วย/ผู้ดูแล ได้รับทราบ เช่น ทักษะในการดูแลตนเองเรื่องการรับประทานอาหาร การรับประทานยา การดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตัวมากับผู้ป่วย เช่น Tracheotomy, การดูแลการให้อาหารทางสายยาง การล้างไตทางหน้าท้อง
  4. ระบบการให้คำปรึกษาเพื่อส่งต่อและการดูแลต่อเนื่องในระดับที่สูงขึ้นที่ชัดเจนและสะดวกมากขึ้น เนื่องจากยังมีขั้นตอนในการปรึกษาหลายขั้นตอน หลายแนวทางปฏิบัติ
  5. แบบบันทึกในการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ควรมีการดำเนินการตามกลุ่มโรคเฉพาะ เนื่องจากในแต่ละกลุ่มโรค จะมีเป้าหมายการดูแลและการติดตามประเมินที่แตกต่างกัน
  6. ในระบบข้อมูลสารสนเทศของการดูแลต่อเนื่อง ควรมีการบูรณาการกับระบบข้อมูลสารสนเทศที่แต่ละโรงพยาบาลได้ดำเนินการอยู่แล้ว เพื่อลดความซ้ำซ้อนของการบันทึกข้อมูล และในระดับระดับเครือข่ายของจังหวัด ควรมีการใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อการเชื่อมโยงและประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม

อัพเดทความเคลื่อนไหว

ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้

อัลบั้มภาพ

ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้

วิดีโอ

ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้
  • อ่าน 7587 คน
  • พิมพ์หน้านี้

แสดงความคิดเห็น

Skip to Top
ประภัสสร งานรุ่งเรือง's picture
นักวิจัยหลัก: ประภัสสร งานรุ่งเรือง
เมื่อ 3 พ.ค. 2557

ทีมงาน

ติดต่อ

นายสุทธินันท์ สระทองหน
นางประภัสสร งานรุ่งเรือง
เครือข่ายดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงบ้าน จังหวัดอุดรธานี
งานพัฒนาคุณภาพ กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
4 ถ.อธิบดี ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี
41000
โทร.042-222356 ต่อ 322
มือถือ 081-5926485

รางวัล

ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้

เอกสาร

ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้
ส่งต่อให้เพื่อน

ติดต่อเรา

โครงการสนับสนุนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยระดับประเทศ

อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘o พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕o ชั้น 2
เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700

โทร. 02-419-2661  อีเมล r2r.thai@gmail.com

เครือข่าย R2R | ถาม-ตอบ | ติดต่อเรา

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ R2R
  • ข่าวสารและกิจกรรม
  • เวทีสร้างงานวิจัย
  • คลังความรู้
  • อัลบั้มภาพ
  • เครือข่าย R2R

ติดตามเรา

  • Facebook
  • Twitter
  • Youtube
  • RSS feed