Skip to main content
R2R

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • สมัครสมาชิก
    • ขอรหัสผ่านใหม่
  • |
  • สมัครสมาชิก
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ R2R
  • ข่าวสารและกิจกรรม
    • ข่าวสาร
    • กิจกรรม
  • เวทีสร้างงานวิจัย
  • คลังความรู้
    • วิดีโอ
    • หนังสือ
    • งานวิจัย
    • E-Journal
    • จดหมายข่าว
  • อัลบั้มภาพ
  • เครือข่าย R2R
หน้าแรก » เวทีสร้างงานวิจัย » เรื่อง “กระบวนการจัดการ การบริหารงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System: DHS )อย่างเป็นเอกภาพ ( Unity District Health Team ) จังหวัดพะเยา (District Health System: DHS Participatory Action on Unity District Health Team in Phayao Province.)

เรื่อง “กระบวนการจัดการ การบริหารงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System: DHS )อย่างเป็นเอกภาพ ( Unity District Health Team ) จังหวัดพะเยา (District Health System: DHS Participatory Action on Unity District Health Team in Phayao Province.)

  • ขนาดตัวอักษร  | |

ประโยชน์ของผลงาน

๑. เพื่อพัฒนารูปแบบ กิจกรรมและกระบวนการในการจัดการด้านการบริหารเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System: DHS)โดย มี แนวทาง ขั้นตอน และดำเนินการตามกระบวนการสนับสนุนการทำงานแบบมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพ ผสมผสาน การส่งเสริม ป้องกัน  รักษา ฟื้นฟูสภาพของประชาชนให้มีสุขภาพดีถ้วนหน้า ทั้งอำเภอ “ อำเภอสุขภาวะ” (Input, Activity, process, operations)

๒.นำผลการศึกษาและพัฒนากระบวนการเชิงกระบวนการมีส่วนร่วม ( Participatory Action Research ) ผลสำเร็จ ปัญหา   อุปสรรค   การแก้ไขปัญหา   แนวทางการพัฒนาการบริหารงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอที่เป็นเอกภาพ (Unity District Health Team) จากผลลัพท์ของการดำเนินงานตาม บทบาทงานระบบสาธารณสุขในระดับอำเภอ มีความสำคัญในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติจากระดับ จังหวัด อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน/ชุมชน (Product ,Out Put ,Impact  )

วัตถุประสงค์  

1.เพื่อประเมินผล  กิจกรรมและกระบวนการ  บริหารจัดการเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DHS) ในพื้นที่จังหวัดพะเยา

2.เพื่อศึกษา การพัฒนาศักยภาพ และรูปแบบในการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมในระบบสุขภาพระดับอำเภออย่างมีเอกภาพ ( Unity District Health Team ) ในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DHS) ระดับอำเภอ  ตำบล หมู่บ้าน ตามสภาพปัญหาบริบท ในพื้นที่

 วิธีการศึกษา    มีรูปแบบการศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( Participation Action Research ) และ การประเมินผล  ( Evaluation Research )โดยนำแนวคิดการประเมินผล แบบ  CIPP Model  ในขั้นตอนการดำเนินงาน ตามโครงการกิจกรรมและกระบวนการ  บริหารจัดการเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DHS)  ( Context  ,  Input ,   Process,  Product  )

กลุ่มตัวอย่าง  เลือกแบบเจาะจง ( Purposive  Sampling ) ในระดับอำเภอทุกแห่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่มีการดำเนินการตำบลจัดการสุขภาพ  และกรณีศึกษา รายอำเภอ จำนวน 1 อำเภอ

1.เป้าหมาย/พื้นที่  เครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DHS) ทุกแห่ง  9 อำเภอในพื้นที่จังหวัดพะเยา ได้แก่ อำเภอเมือง ( รวมพื้นที่ในเขตเทศบาลเมือง ซึ่งมีศูนย์สาธารณสุขชุมชนเมือง : ศสม. ) , อำเภอเชียงคำ,  อำเภอแม่ใจ ,อำเภอดอกคำใต้, อำเภอจุน , อำเภอปง,  อำเภอภูกามยาว, อำเภอเชียงม่วน,อำเภอภูซาง

2.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล    ในพื้นที่ตำบล ที่มีการดำเนินการตำบลจัดการสุขภาพ   ในปี งบประมาณ 2555-2556

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

  เก็บรวบรวมข้อมูลโดย  สร้างแบบรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอนของแนวทางการประเมินเครือข่ายสุขภาพอำเภอและแผนงานการดำเนินงานตามกระบวนการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ( District Health System :DHS)   5 ลำดับการพัฒนา และประเด็น หนึ่งอำเภอ หนึ่งโครงการ ( ODOP )  กระบวนการพัฒนาเครือข่ายบริการปฐมภูมิ    ( Primary care Award : PCA )  ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขและแผนงานสาธารณสุขระดับจังหวัดพะเยา  และถอดบทเรียนจากการเรียนรู้จากการแก้ไขปัญหาและพัฒนาในพื้นที่ (Context   Base Learning :CBL)  ตามกรอบการประเมินของ CIPP Model โดยรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์  เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ได้จากแบบสอบถามในเนื้อหา กิจกรรมปัญหาและข้อเสนอแนะ และข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากการศึกษาจากเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) ตามองค์ประกอบดังนี้

Context –นโยบายระบบสุขภาพระดับ ส่วนกลาง เขต จังหวัด   อำเภอ   ตำบล หมู่บ้าน บริบทพื้นที่ สถานการณ์การจัดบริการด้านสาธารณสุข ระดับอำเภอและปฐมภูมิที่มีอยู่ก่อนดำเนินงานโครงการบริหารจัดการเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DHS) ในพื้นที่

Input- แผนระบบบริการสุขภาพระดับจังหวัด ( Service Plan ) ,กิจกรรม โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ( District Health System :DHS)  ,กระบวนการพัฒนาคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ  ( Primary care Award : PCA ), งบประมาณ,บุคลากร, ทีมงาน,วัสดุอุปกรณ์ และกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ฯลฯ       

Process –กระบวนการ 5 ขั้นตอน DHS ด้วยกลไกบันได 5 ขั้น ตั้งแต่การมอบนโยบาย และการปฏิบัติ ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล    กิจกรรม, การบริหารจัดการ, การมีส่วนร่วม, การดำเนินการตามแผนงาน โครงการประเด็น การพัฒนางานสาธารณสุขในพื้นที่ ระดับอำเภอ การควบคุม ติดตาม ประเมินผล (CUP Management, PCA, CBL)

Product –ผลลัพธ์การดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรมของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ( District Health System :DHS)  ผลลัพท์ความสำเร็จตามประเด็นการขับเคลื่อนการพัฒนางานสาธารณสุข  การบูรณาการ องค์กรในระดับ อำเภอ  ตำบล  หมู่บ้าน  การจัดการสุขภาพ  กระบวนการทำแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม ( SRM) นวัตกรรมชุมชนที่แก้ปัญหาได้    กิจกรรมการดูแลตนเองและพึ่งตนเองด้านสุขภาพ  ชุมชนเข้มแข็ง ฯลฯ

Impact –ผลกระทบต่อ การดำเนินงาน ในระบบสาธารณสุขในพื้นที่   การพึ่งตนเองด้านสุขภาพชุมชนเข้มแข็ง การแก้ไขปัญหา อุปสรรค สภาพพื้นที่ การเมือง การสื่อสาร เทคโนโลยี ฯลฯ

ผลการรวบรวมข้อมูลศึกษาเบื้องต้น ด้วยการติดตามประเมินผลประเด็น ODOP ในพื้นที่ของแต่ละอำเภอ มีการพิจารณาประเด็นจากการบรูณาการต่อยอดกับงานปัญหาในพื้นที่ และงานประจำที่ต้องพัฒนากระบวนการงาน  โดยเน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนากระบวนงานดังกล่าวให้สอดคล้องกับภารกิจและความต้องการของชุมชนในพื้นที่ ซึ่งในแต่ละอำเภอ โดยมีประเด็นดังนี้

1 อำเภอเมืองพะเยา เรื่องการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส เครือข่ายสุขภาพ

 2 อำเภอแม่ใจ เรื่องการพัฒนาระบบบริการผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน)

3 อำเภอเชียงคำและอำเภอภูซาง เรื่องการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน)

4 อำเภอเชียงม่วน เรื่องการพัฒนาระบบการดูแลกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน

5 อำเภอปง เรื่องการพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

เพื่อก้าวสู่อำเภอสุขภาวะด้านโรคเรื้อรัง

6 อำเภอดอกคำใต้ เรื่องการพัฒนาระบบงานควบคุมป้องกันวัณโรคโดยชุมชนมีส่วนร่วม

7 อำเภอจุน เรื่องการพัฒนาระบบสุขภาพวัยรุ่นที่ยั่งยืนโดยชุมชนมีส่วนร่วม

8 อำเภอภูกามยาว เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพดดยการออกกำลังกาย (Fit for life ) เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

วิเคราห์การติดตามและประเมินผลและพัฒนาบุคลากร ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอให้แก่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ การจัดเวทีพัฒนาแผนงานโครงการของอำเภอ ในเขตพื้นที่ จังหวัดพะเยา และการจัดประชุมสรุปเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ DHS

มีรสรุปผลการประเมินและติดตามผลลัพท์ในพื้นที่ตามกระบวนการพัฒนาต่อเนื่องในด้าน

          -การบริหารจัดการโครงการและแผนงาน การนำนโยบายสู่การดำเนินงานในระดับปฏิบัติการบริหารงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System: DHS )อย่างเป็นเอกภาพ ( Unity District Health Team ) 

          - การติดตาม นิเทศ กำกับ และประเมินผล โครงการ

          - การรวมรวม วิเคราะห์ข้อมูล และ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( Participatory Action Research )

          - การบริหารจัดการ  สร้างทีมงานผู้มีส่วนร่วมวิจัยในกลุ่มงานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยาและพื้นที่ ทุกอำเภอ จังหวัดพะเยา

 

พัฒนาโครงร่างวิจัย

1. ชื่อโครงการ (ภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ)

เรื่อง “กระบวนการจัดการ การบริหารงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System: DHS )อย่างเป็นเอกภาพ ( Unity District Health Team ) จังหวัดพะเยา (District Health System: DHS Participatory Action on Unity District Health Team in Phayao Province.)

2. ภูมิหลังและที่มาของโครงการ (Background and Rational)

 ที่มาทีมาและความสำคัญ

บทบาทงานระบบสาธารณสุขในระดับอำเภอ มีความสำคัญในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติจากระดับ จังหวัด อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน/ชุมชน ซึ่งบทบาทเดิมนั้นจะเป็นผู้ให้บริการ ผู้ประสานงาน จัดบริการในเขตที่เรียกว่า CUP: Contracting Unit for Primary care  ดำเนินการบริหารจัดการบริการสุขภาพให้กับประชาชนและชุมชนให้มีความเข้มแข็งสามารถดูแลตนเอง พึ่งตนเองได้ด้านสุขภาพ โดยมี หน่วยงานส่วนราชการสาธารณสุขอำเภอ( สสอ.),  โรงพยาบาลชุมชน(รพช. ), องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและภาคีภาคประชาชน ในพื้นที่ ส่งเสริม สนับสนุนการทำงานแบบมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพ ผสมผสาน การส่งเสริม ป้องกัน  รักษา ฟื้นฟูสภาพของประชาชนให้มีสุขภาพดีถ้วนหน้า ทั้งอำเภอ “ อำเภอสุขภาวะ”โดยมีเครือข่ายบริการปฐมภูมิที่มีคุณภาพ คือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต. )เป็นหน่วยจัดบริการที่เหมาะสม มีกระบวนการเรียนรู้สภาพปัญหาพื้นที่ และสร้างเสริมศักยภาพของสังคมในชุมชน ครอบครัว  และบุคคลตามบริบทของพื้นที่ ซึ่งมีเป้าหมายของระบบสุขภาพระดับอำเภอ คือ

-  สถานะสุขภาพ ( Health status ) ของประชาชนในอำเภอดีขึ้น ลดโรคที่เป็นปัญหา ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันความเจ็บป่วยที่ป้องกันได้ และมีศักยภาพในการรับมือกับปัญหาสาธารณสุขที่เปลี่ยนแปลงได้

- ประชาชนสามารถดูแลและพึ่งตนเองด้านสุขภาพองค์รวมได้ (Self  and Essential care) โดย การมีส่วนร่วมของ ประชาชน ครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น อย่างต่อเนื่อง

- ทีมเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DHS ) มีความเข้มแข็งและมีเอกภาพในการบริหารจัดการอย่างมีเอกภาพ ( Unity District Health Team )

- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยาได้มีการกำหนดนโยบายและกระบวนการดำเนินงานที่ถ่ายทอดนโยบายลงไปยังพื้นที่ เพื่อเกิดการทำงานทิศทางเดียวกันในทุกระดับเป็นเรื่องสำคัญ ต้องอาศัยการดำเนินการแบบบูรณาการอย่างมีส่วนร่วม โดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์จากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงจะบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด  ดังนั้นการจัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอ  ให้มีศักยภาพในการรองรับนโยบาย ประสานให้เกิดการมีส่วนร่วมของการทำงาน แบบบูรณาการทั้งเชิงปฏิบัติการและบริหารจัดการ มีการพัฒนาโครงสร้าง แนวทาง รูปแบบการดำเนินงานที่มีเอกภาพและประสิทธิภาพ ในระบบบริการสาธารณสุข อย่างยิ่ง

3. วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย (Objective)

3.1 วัตถุประสงค์หลัก (Primay Objective)

เพื่อศึกษา การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในระบบสุขภาพระดับอำเภอที่เป็นเอกภาพ ( Unity District Health Team ) ในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DHS) ระดับอำเภอ  ตำบล หมู่บ้าน ตามสภาพปัญหาบริบท ในพื้นที่

1.1เพื่อประเมินผล  กิจกรรมและกระบวนการ  บริหารจัดการเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DHS) ในพื้นที่จังหวัดพะเยา

1.2.เพื่อศึกษา การพัฒนาศักยภาพ และรูปแบบในการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมในระบบสุขภาพระดับอำเภออย่างมีเอกภาพ ( Unity District Health Team ) ในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DHS) ระดับอำเภอ  ตำบล หมู่บ้าน ตามสภาพปัญหาบริบท ในพื้นที่

3.2 วัตถุประสงค์รอง (Secondary Objective)

-เพื่อพัฒนารูปแบบ กิจกรรมและกระบวนการในการจัดการด้านการบริหารเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System: DHS)โดย มี แนวทาง ขั้นตอน และดำเนินการตามกระบวนการสนับสนุนการทำงานแบบมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพ ผสมผสาน การส่งเสริม ป้องกัน  รักษา ฟื้นฟูสภาพของประชาชนให้มีสุขภาพดีถ้วนหน้า ทั้งอำเภอ “ อำเภอสุขภาวะ” (Input, Activity, process, operations)

-นำผลการศึกษาและพัฒนากระบวนการเชิงกระบวนการมีส่วนร่วม ( Participatory Action Research ) ผลสำเร็จ ปัญหา   อุปสรรค   การแก้ไขปัญหา   แนวทางการพัฒนาการบริหารงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอที่เป็นเอกภาพ (Unity District Health Team) จากผลลัพท์ของการดำเนินงานตาม บทบาทงานระบบสาธารณสุขในระดับอำเภอ มีความสำคัญในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติจากระดับ จังหวัด อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน/ชุมชน (Product ,Out Put ,Impact  )

4. วิธีการดำเนินโครงการ (Materials and Methods)

4.1 การออกแบบการวิจัย (Study Design)

 วิธีการศึกษา    มีรูปแบบการศึกษา เชิงประเมินผล  ( Evaluation Research )โดยนำแนวคิดการประเมินผล แบบ  CIPP Model  ในโครงการกิจกรรมและกระบวนการ  บริหารจัดการเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DHS)  ( Context  ,  Input ,   Process,  Product  )ในแต่ละขั้นตอนและการมีส่วนร่ม(Participatory Action Reasearc

  เก็บรวบรวมข้อมูลโดย 

1.สร้างแบบรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอนของแนวทางการประเมินเครือข่ายสุขภาพอำเภอและแผนงานการดำเนินงานตามกระบวนการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ( District Health System :DHS)    /  กระบวนการพัฒนาเครือข่ายบริการปฐมภูมิ  ( Primary care Award : PCA )  ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขและแผนงานสาธารณสุขระดับจังหวัดพะเยา  และถอดบทเรียนจากการเรียนรู้จากการแก้ไขปัญหาและพัฒนาในพื้นที่ (Context   Base Learning :CBL)  ตามกรอบการประเมินของ CIPP Model โดยรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์  เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ได้จากแบบสอบถามในเนื้อหา กิจกรรมปัญหาและข้อเสนอแนะ และข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากการศึกษาจากเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) ตามองค์ประกอบดังนี้

Context –นโยบายระบบสุขภาพระดับ ส่วนกลาง เขต จังหวัด   อำเภอ   ตำบล หมู่บ้าน บริบทพื้นที่ สถานการณ์การจัดบริการด้านสาธารณสุข ระดับอำเภอและปฐมภูมิที่มีอยู่ก่อนดำเนินงานโครงการบริหารจัดการเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DHS) ในพื้นที่

Input- แผนระบบบริการสุขภาพระดับจังหวัด ( Service Plan ) ,กิจกรรม โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ( District Health System :DHS)  ,กระบวนการพัฒนาคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ  ( Primary care Award : PCA ), งบประมาณ,บุคลากร, ทีมงาน,วัสดุอุปกรณ์ และกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ฯลฯ    

Process –กระบวนการ5ขั้นตอน DHS ด้วยกลไกบันได 5 ขั้น ตั้งแต่การมอบนโยบาย และการปฏิบัติ ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล    กิจกรรม, การบริหารจัดการ, การมีส่วนร่วม,  การดำเนินการตามแผนงาน โครงการประเด็น การพัฒนางานสาธารณสุขในพื้นที่ ระดับอำเภอ การควบคุม ติดตาม ประเมินผล ( CUP Management,PCA ,CBL,)

Product –ผลลัพธ์การดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรมของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ( District Health System :DHS)  ผลลัพท์ความสำเร็จตามประเด็นการขับเคลื่อนการพัฒนางานสาธารณสุข  การบูรณาการ องค์กรในระดับ อำเภอ  ตำบล  หมู่บ้าน  การจัดการสุขภาพ  กระบวนการทำแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม ( SRM) นวัตกรรมชุมชนที่แก้ปัญหาได้    กิจกรรมการดูแลตนเองและพึ่งตนเองด้านสุขภาพ  ชุมชนเข้มแข็ง ฯลฯ

Impact –ผลกระทบต่อ การดำเนินงาน ในระบบสาธารณสุขในพื้นที่   การพึ่งตนเองด้านสุขภาพชุมชนเข้มแข็ง การแก้ไขปัญหา  อุปสรรค  สภาพพื้นที่ การเมือง การสื่อสาร เทคโนโลยี ฯลฯ

2.การเก็บรวบรวมข้อมูลการมีส่วนร่วม  เครื่องมือในการวิจัยโดยสร้างแบบบันทึกข้อมูล 5 ระดับการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพอำเภอ คือ    การให้ข้อมูลข่าวสาร(Inform)   การปรึกษาหารือ( Consult)    การให้เข้าร่วมมีบทบาท ( Involve)  การสร้างความร่วมมือ (Collaborate)  การเสริมพลังอำนาจ ( Empower) และขั้นตอนพัฒนาการดำเนินงานตามกระบวนการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ  ( District Health System :DHS) 5 ขั้นตอน ด้วยกลไกบันได 5 ขั้น ตั้งแต่การมอบนโยบาย และการปฏิบัติ ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล    กิจกรรม, การบริหารจัดการ, การมีส่วนร่วม, การดำเนินการตามแผนงาน โครงการประเด็นการพัฒนางานสาธารณสุขในพื้นที่และ  กระบวนการพัฒนาเครือข่ายบริการปฐมภูมิ  ( Primary care Award : PCA )  ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขและแผนงานสาธารณสุขระดับจังหวัดพะเยา  และถอดบทเรียนจากการเรียนรู้จากการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาและพัฒนาในพื้นที่ (Context   Base Learning :CBL)  โดยรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ เชิงคุณภาพที่ได้จากขั้นตอนการมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้วยการ มีส่วนร่วมในกิจกรรม  สังเกต  สัมภาษณ์ตามแบบสอบถามที่สร้างขึ้นตามเนื้อหา กิจกรรมปัญหาและข้อเสนอแนะ และข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากการศึกษาจากเอกสาร  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) เชิงคุณภาพ ด้านการนำนโยบายระบบสุขภาพระดับ ส่วนกลาง เขต จังหวัด   อำเภอ   ตำบล หมู่บ้าน บริบทพื้นที่ สถานการณ์การจัดบริการด้านสาธารณสุข ระดับอำเภอและปฐมภูมิที่มีอยู่ก่อนดำเนินงานโครงการบริหารจัดการเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DHS) ในพื้นที่ การจัดทำแผนระบบบริการสุขภาพระดับจังหวัด ( Service Plan ) ,กิจกรรม โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ( District Health System :DHS)  ,กระบวนการพัฒนาคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ  ( Primary care Award : PCA ), งบประมาณ,บุคลากร, ทีมงาน,วัสดุอุปกรณ์ และกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ฯลฯ   และแบบบันทึกวิเคราะห์การมีส่วนร่วม 5 ระดับของการมีส่วนร่วม การดำเนินการตามแผนงาน โครงการประเด็นการพัฒนางานสาธารณสุขในพื้นที่ ระดับอำเภอ การควบคุม ติดตาม ประเมินผล การบริหารจัดการโครงการ (CUP Management)กิจกรรมการบริการปฐมภูม (Primary care)การเรียนรู้การแก้ไขปัญหาในพื้นที่ (Context  base learning)สรุปการดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรมของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ( District Health System :DHS)  แต่ละอำเภอตามประเด็นการขับเคลื่อน( Essential care ) การบูรณาการ องค์กรในระดับ อำเภอ  ตำบล  หมู่บ้าน  การจัดการสุขภาพ  กระบวนการทำแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม ( SRM) นวัตกรรมชุมชนที่แก้ปัญหาได้    กิจกรรมการดูแลตนเองและพึ่งตนเองด้านสุขภาพ  ชุมชนเข้มแข็ง การพึ่งตนเองด้าน การแก้ไขปัญหา/อุปสรรค  

 

4.2 ประชากรที่ศึกษา (Study Population)

เครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DHS) ทุกแห่ง  9 อำเภอในพื้นที่จังหวัดพะเยา ได้แก่ อำเภอเมือง ( รวมพื้นที่ในเขตเทศบาลเมือง ซึ่งมีศูนย์สาธารณสุขชุมชนเมือง : ศสม. ) , อำเภอเชียงคำ,  อำเภอแม่ใจ ,อำเภอดอกคำใต้, อำเภอจุน , อำเภอปง,  อำเภอภูกามยาว, อำเภอเชียงม่วน,อำเภอภูซาง

4.3 แหล่งที่มาของประชากร (Source of Study Population)

1.เป้าหมาย/พื้นที่  เครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DHS) ทุกแห่ง  9 อำเภอในพื้นที่จังหวัดพะเยา ได้แก่ อำเภอเมือง ( รวมพื้นที่ในเขตเทศบาลเมือง ซึ่งมีศูนย์สาธารณสุขชุมชนเมือง : ศสม. ) , อำเภอเชียงคำ,  อำเภอแม่ใจ ,อำเภอดอกคำใต้, อำเภอจุน , อำเภอปง,  อำเภอภูกามยาว, อำเภอเชียงม่วน,อำเภอภูซาง

2.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล    ในพื้นที่ตำบล ที่มีการดำเนินการตำบลจัดการสุขภาพ   ในปี งบประมาณ 2555-2556

4.4 การได้มาซึ่งประชากรที่ศึกษา (Method of Recruitment of Study Population)

กลุ่มตัวอย่าง  เลือกแบบเจาะจง ( Purposive  Sampling ) ในระดับอำเภอทุกแห่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่มีการดำเนินการตำบลจัดการสุขภาพ  และกรณีศึกษา รายอำเภอ จำนวน 1 อำเภอคือ อำเภอเมือง 3 ตำบล/อำเภอเชียงม่วน 1 ตำบลคือ ตำบลมาง

4.5 เกณฑ์การคัดเลือกประชากรที่ศึกษา (Selection Criteria)

4.5.1 เกณฑ์การคัดเลือกผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัคร (Inclusion Criteria)

ในระดับอำเภอ 9 อำเภอทุกแห่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 1 แห่ง ที่มีการดำเนินการตำบลจัดการสุขภาพ  

4.5.2 เกณฑ์ไม่รับเข้าในการศึกษา (Exclusion Criteria)

-

4.5.3 เกณฑ์การถอนผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัครหรือยุติการเข้าร่วมการวิจัย (Withdrawal or Termination Criteria)

-

4.6 วิธีการแบ่งกลุ่มประชากรที่ศึกษา (Allocation of Study Population)

-

4.7 จำนวนประชากรที่ต้องการจะศึกษา (Sample Size) และการคำนวณขนาดตัวอย่าง (Sample Size Calculation)

-

4.8 ขั้นตอนการศึกษา (Study Procedures)

ระบบสุขภาพอำเภอ ( District Health System ) คือการทำงานสุขภาพโดยใช้อำเภอเป็นฐาน  มองทุกส่วนในอำเภอเป็นเนื้อเดียวกัน ส่วนราชการสาธารณสุข หน่วยงานต่างๆในอำเภอ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และภาคีภาคประชาชน โดยมีเป้หมายขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพของประชาชนทั้งอำเภอ ผสมผสานงานสร้างเสริมสุขภาพ  ป้องกัน  รักษา ฟื้นฟู เข้าด้วยกันในบริบทของสังคมในพื้นที่เป็นองค์รวม ต่อเนื่อง และ บุคคล ครอบครัว ชุมชม พึ่งตนเองได้ในการดูแลตนเองด้านสุขภาพ และชุมชนเข้มแข็งในการจัดการสุขภาพอย่างยั่งยืน

            ความสำคัญ – ด้านโครงสร้างการบริหารจัดการในระดับอำเภอมีศักยภาพที่รองรับนโยบายจากส่วนกลางและจังหวัด และจัดการนโยบายไปสู่ระดับปฏิบัติตามความจำเป็นและความต้องการของพื้นที่ให้เกิดการบูรณาการอย่างสมดุลและพัฒนาบริการปฐมภูมิไปพร้อมกับการพัฒนาระบบบริการในภาพรวมของอำเภอ

                                    -ด้านศักยภาพ ได้รับการพัฒนาให้มีขีดความสามารถ  สมรรถนะตามลักษณะ “ ระบบสุขภาพแบบบูรณาการ ( Integrated  health  care system ) คือ มีการบูรณาการ  ผสมผสานสถานบริการต่างๆ  โรงพยาบาลระดับอำเภอ  ระดับตำบล ( รพ.สต./ศสม./ สสช.)ระดับหมู่บ้าน (ศสมช.)  องค์กรปกครองส่วนท้อถิ่น  องค์กรชุมชน  ต่างที่มีอยู่ บูรณาการกันได้อย่างเป็นระบบ ไม่มีช่องว่าง  ไม่มีความซ้ำซ้อน ทั้งเชิงบริหารจัดการ และปฏิบัติการ

                                     -ด้านการประสานงาน  มีความเหมาะสมที่ประสานทั้งในระดับนโยบายและประสานเชื่อมต่อระบบบริการจากระดับสูง   อำเภอ ตำบล เป็นพวงบริการถึงระดับปฐมภูมิ

4.9 การวัดผล/การวิเคราะห์ผลการวิจัย (Outcome Measurement/Data Analysis) (กระบวนการวัดผล/ วิเคราะห์ผล รวมถึงสถิติที่ใช้)

วัดผล ในกระบวนการพัฒนา ตามลำดับการพัฒนา 5 ขั้นตอนคือ กลไก 5 ขั้น การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DHS)

วัดผลจากการเรียนรู้ระหว่างเครือข่ายปฐมภูมิระดับอำเภอและโรงพยาบาลระดับอำเภอในบริบทของพื้นที่ มีการพัฒนาตนเอง  ด้วยกระบวนการพัฒนาคุณภาพอย่างผสมผสาน ด้านทรัพยากร  บุคลากร ทีมสหสาขาวิชาชีพ ( Interdisciplinary  team ) โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ( District Health System)  ตามบันได 5 ขั้น และ มีประเด็นสุขภาพในการขับเคลื่อน ระบบ (One District One Project)  พัฒนาและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ให้เป็นหนึ่งเดียวกันไม่แยกส่วนการพัฒนา ส่งเสริมให้ประชาชนมีความร่วมมือในการจัดการปัญหาสุขภาพของชุมชนและพร้อมที่จะพัฒนาสู่อำเภอสุขภาวะในอนาคตภายใต้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน           

   บันไดขั้นที่ 1- การทำงานร่วมกันในระดับอำเภอ ( Unity District Health Teem )

1.1    มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ DHS พร้อมกำหนดบทบาทชัดเจน

1.2    ทีมงานDHS ทำงานตามหน้าที่ที่รับมอบหมาย

1.3    พัฒนาบุคลากรตามความต้องการของบุคคลหน่วยงาน  (Training Need)

1.4    รวบรวมข้อมูลและปัญหาสุขภาพพื้นที่

1.5    ชุมชนและเครือข่ายDHS มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมด้านสุขภาพ

            บันไดขั้นที่ 2-การทำงานให้เกิดคุณค่า ทั้งกับผู้รับบริการ และผู้ให้บริการ(Appreciation)

1.1    คณะกรรมการ DHSมีการประชุมสม่ำเสมอ มีบันทึกเป็นหลักฐาน

1.2    ทีมงานวิเคราะห์ข้อมูลและการแก้ไขปัญหาพื้นที่

1.3    มีแผนการพัฒนาบุคลากรเน้นองค์ความรู้ ทักษะ ( Knowledge management KM ,CBL.Family Medicine :FM, Skill)

1.4    มีการวิเคราะห์ข้อมูล  และปัญหา การดูแลสุขภาพที่จำเป็น( Essential care )

1.5    ชุมชนและเครือข่ายDHS   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ( อปท.)มีการสนับสนุนและบูรณาการงบประมาณ  ( Resource sharing )

บันไดขั้นที่ 3-การแบ่งปันทรัพยากรและการพัฒนาบุคลากร(Resource sharing and Human development )

1.1    คณะกรรมการมีการใช้ข้อมูลในการวางแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ

1.2    เจ้าหน้าที่และทีมงานมีความพึงพอใจในงานและผลลัพธ์ของงานที่เกิดขึ้น

1.3    มีแผนพัฒนาบุคลากรเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้สู่การปฏิบัติงานประจำ

1.4    มีการพัฒนา,แก้ไขปัญหา และดูแลสุขภาพที่จำเป็นของประชาชน( Essential care )

3.5ชุมชนและเครือข่ายDHS มีส่วนร่วมในการคิดวางแผน จัดการระบบสุขภาพชุมชนร่วมกันและมีการดำเนินงานที่เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม

บันไดขั้นที่ 4-การให้บริการสุขภาพตามบริบทที่จำเป็น (Essential care )

4.1คณะกรรมการสามารถดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม (โครงการตามประเด็นฯ)

4.2 บุคคลอื่น/ผู้รับบริการเห็นคุณค่า และชื่นชมเจ้าหน้าที่และทีมงาน

4.3 มีแผนพัฒนาบุคคลากรเชื่อมดยงกระบวนการเรียนรู้สู่การปฏิบัติงานประจำและพัฒนาตนเองนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม

4.5 ชุมชนและเครือข่ายมีแผนการบริหารจัดการสุขภาพชุมชน พร้อมมีส่วนรวมรับผิดชอบ ร่วมตรวจสอบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

บันไดขั้นที่ 5-การมีส่วนร่วมของเครือข่ายและชุมชน (community participation )

5.1 คณะกรรมการเครือข่ายสุขภาพ DHSมีการประเมินเพื่อวางแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

5.2 เจ้าหน้าที่และทีมงานรึ้กมีคุรค่าในงานที่ทำ

5.3 การพัฒนาบุคลากรเชื่อมโยงการดูแลมิติทางจิตใจ และจิตวิญญาณ

5.4 มีการขยายผลประเด็นสุขภาพอื่นๆ หรือเป็นแบบอย่างที่ดี

5.5 ชุมชนและเครือข่ายมีการกำหนดนโยบายสาธารณะด้านการจัดการสุขภาพ

4.10 หลักฐาน ข้อมูล หรือเอกสารอ้างอิงที่แสดงว่าการวิจัยนี้น่าจะมีความปลอดภัยและ/หรือมีประโยชน์ต่อผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัคร/สังคม

-ระบบสุขภาพอำเภอ ( District Health System ) คือการทำงานสุขภาพโดยใช้อำเภอเป็นฐาน  มองทุกส่วนในอำเภอเป็นเนื้อเดียวกัน ส่วนราชการสาธารณสุข หน่วยงานต่างๆในอำเภอ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และภาคีภาคประชาชน โดยมีเป้หมายขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพของประชาชนทั้งอำเภอ ผสมผสานงานสร้างเสริมสุขภาพ  ป้องกัน  รักษา ฟื้นฟู เข้าด้วยกันในบริบทของสังคมในพื้นที่เป็นองค์รวม ต่อเนื่อง และ บุคคล ครอบครัว ชุมชม พึ่งตนเองได้ในการดูแลตนเองด้านสุขภาพ และชุมชนเข้มแข็งในการจัดการสุขภาพอย่างยั่งยืน

ความสำคัญ – ด้านโครงสร้างการบริหารจัดการในระดับอำเภอมีศักยภาพที่รองรับนโยบายจากส่วนกลางและจังหวัด และจัดการนโยบายไปสู่ระดับปฏิบัติตามความจำเป็นและความต้องการของพื้นที่ให้เกิดการบูรณาการอย่างสมดุลและพัฒนาบริการปฐมภูมิไปพร้อมกับการพัฒนาระบบบริการในภาพรวมของอำเภอ

   -ด้านศักยภาพ ได้รับการพัฒนาให้มีขีดความสามารถ  สมรรถนะตามลักษณะ “ ระบบสุขภาพแบบบูรณาการ ( Integrated  health  care system ) คือ มีการบูรณาการ  ผสมผสานสถานบริการต่างๆ  โรงพยาบาลระดับอำเภอ  ระดับตำบล ( รพ.สต./ศสม./ สสช.)ระดับหมู่บ้าน (ศสมช.)  องค์กรปกครองส่วนท้อถิ่น  องค์กรชุมชน  ต่างที่มีอยู่ บูรณาการกันได้อย่างเป็นระบบ ไม่มีช่องว่าง  ไม่มีความซ้ำซ้อน ทั้งเชิงบริหารจัดการ และปฏิบัติการ

  -ด้านการประสานงาน  มีความเหมาะสมที่ประสานทั้งในระดับนโยบายและประสานเชื่อมต่อระบบบริการจากระดับสูง   อำเภอ ตำบล เป็นพวงบริการถึงระดับปฐมภูมิ

มีเป้าหมายระดับอำเภอ คือ สถานะสุขภาพดีขึ้น (Health status) ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้  (Self  care ) การมีส่วนร่วมของประชาชน  ท้องถิ่น ทีมสุขภาพอำเภอมีความเข้มแข็งที่สามารถวัดผลได้จาก ประเด็นสุขภาพ  จากการแก้ไขปัญหาและพัฒนาที่ขับเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลง สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่

สนับสนุนการบริการปฐมภูมิ  การบริการลำดับแรกที่อยู่ใกล้ชุมชนมากที่สุด โดยดูแลประชาชน ทั้งในระดับ บุคคล ครอบครัว และชุมชนอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่ระดับ ก่อนป่วยดูแลเบื้องต้น เมื่อเจ็บป่วย  และหลังเจ็บป่วย ทั้งทางด้านร่างกาย  จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณเพื่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็งต่อไป  โดยมีหน่วยบริการปฐมภูมิซึ่งอยู่ใกล้ชิดประชาชนในพื้นที่คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ( รพ.สต. )เป็นผู้ให้บริการระดับตำบลและเชื่อมประสานงานกับระดับอำเภอ ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลอำเภอ ในระบบส่งต่อและงานสาธารณสุขด้านรักษา ส่งเสริม  ป้องกัน  รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ

5. แผนการดำเนินการ (Outline of the Study) และผลที่คาดว่าจะได้รับในแต่ละช่วงระยะเวลา

การพัฒนาบริการปฐมภูมิ ทุติยภูมิและสุขภาพองค์รวมให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้นั้นต้องอาศัยการพัฒนากลไกการบริหารจัดการเครือข่ายสุขภาพอำเภอ( DSH) ที่เข้มแข็ง จริงจัง ดังนั้นในทุกระดับควรกำหนดเป็นนโยบายสำคัญที่ต้องมีกระบวนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง  และให้การสนับสนุนการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งในการจัดการตนเองด้านสุขภาพของภาคประชาชนในรูปแบบต่างๆให้หลากหลาย  เช่น ตำบลจัดการสุขภาพ จิตอาสาต่างๆ  การเสริมศักยภาพของชุมชน และอสม. ในการสร้างเสริมสุขภาพตามวิถีชีวิต  เพื่อนำไปสู่การดูแลพึ่งพาตนเองและลดความแออัดในหน่วยบริการ

          -การสนับสนุน การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ ของเครือข่ายบริการสุขภาพ (CUP) บางแห่ง  ยังขาดการสนับสนุนเชิงนโยบายอย่างจริงจัง เพื่อพัฒนาศักยภาพระบบบริการปฐมภูมิ

          - ระบบการปฏิบัติงาน ใน รพ.สต. มีความหลากหลาย และต้องอาศัยทักษะการปฏิบัติงานของแต่ละสาขาวิชาชีพที่เชื่อมโยงกัน  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้ข้อมูลพื้นที่เป็นฐานในการพัฒนาระบบบริการและศักยภาพบุคลากร  จึงเป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิ

6. ผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อการดำเนินงานเสร็จสิ้นที่เป็นรูปธรรมและตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

ผลการดำเนินงานโครงการ DHS : District Health System ตามนโยบายสำคัญของกระทรวง จังหวัดพะเยามีเป้าหมายการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอทั้ง  9 อำเภอคือ อำเภอเมือง ( รวมพื้นที่ในเขตเทศบาลเมือง ซึ่งมีศูนย์สาธารณสุขชุมชนเมือง : ศสม. ) , อำเภอเชียงคำ,  อำเภอแม่ใจ ,อำเภอดอกคำใต้, อำเภอจุน , อำเภอปง,  อำเภอภูกามยาว, อำเภอเชียงม่วน, อำเภอภูซาง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ พัฒนาทีมในการทำงาน  การบริหารจัดการและการแบ่งปันทรัพยากร  กำหนดแนวทางการให้บริการอย่างเป็นระบบตามปัญหาและความจำเป็นพื้นที่และสร้างคุณค่าของคนทำงาน  มีความสุขและได้รับการยอมรับ และบูรณาการสนับสนุนงบประมาณในพื้น การพัฒนาตามบันได 5 ขั้นอยู่ในระดับที่ 3  และมีประเด็นการขับเคลื่อนหนึ่งโครงการ หนึ่งอำเภอ ( One District One Project: ODOP )ในพื้นที่ทุกอำเภอ

5 ระดับการมีส่วนร่วมในกลไกกระบวนการพัฒนาDHSอำเภอ 5 ขั้นตอน

การให้ข้อมูลข่าวสาร(Inform)  

 การปรึกษาหารือ(Consult) 

การให้เข้าร่วมมีบทบาท             ( Involve)

การสร้างความร่วมมือ(Collaborate) 

การเสริมพลังอำนาจ( Empower)

1.)unity district health team

โครงสร้างองค์กร/กรรมการ

(การพัฒนาระดับ 3.22)

มีการมอบนโยบายคำสั่งแนวทางปฏิบัติชัดเจนทุกอำเภอ

คณะกรรมการมีการประชุมตามวาระและปรึกษาหารือกัน

คณะกรรมการมีส่วนร่วมตามบทบาทที่ถนัดและหน่วยงาน

มีการประสานความร่วมมือในการทำงานเป็นเรื่องเดียวกัน

คณะกรรมการมีการเรียนรู้แลกเปลี่ยนกระตุ้นและพัฒนาซึ่งกันและกัน

2.) appreciation  การสร้างคุณค่าในงาน  องค์ความรู้

(การพัฒนาระดับ 3.11)

 

มีการถ่ายทอดพัฒนางานสู่การเรียนรู้ให้กับชุมชนและประชาชนเป็นผู้ให้ข้อมูลกันเอง

มีการแลกเปลี่ยนพัฒนาเรียนรู้ให้คำปรึกษาระหว่างหน่วยงานและองค์กรชุมชน

ชุมชนพัฒนาบทบาทจากผู้รับมาเป็นผู้ให้ร่วมเป็นเจ้าของในกิจกรรม

ชุมชนมีการประสานความร่วมมือจากผู้รู้/ปราชญ์และร่วมมือทำงาน

สร้างการเรียนรู้จากงานประจำสู่การวิจัย(R2R)และการถอดบทเรียนและคุณค่า/พึงพอใจในงาน

3.)resource sharing and human development

การบูรณาการ แบ่งปันทรัพยากร พัฒนาบุคลากร

(การพัฒนาระดับ 3.22)

 

องค์กรต่างๆให้การมีส่วนร่วมการประชาสัมพันธ์รับทราบการสนับสนุนงบประมาณและการเรียนรู้ของชุมชนในพื้นที่

มีการประชุมปรึกษาหารือถึงการระดมทรัพยากรมาแก้ปัญหา/พัฒนาตามประเด็นของพื้นที่ว่าเหมาะสมหรือไม่/อย่างไร

มีหน่วยงานองค์กรชุมชนและประชาชนสนับสนุนทรัพยากรคน เงิน อุปกรณ์ตามแผนการแก้ปัญหาพื้นที่

หน่วยงานในพื้นที่/องค์กรชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมตามบทบาทของหน่วยงานและความถนัดในประเด็นพื้นที่

หน่วยงานสนับสนุนทรัพยากรและให้การโอกาสพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการและการให้บริการตลอดจนการสร้างคุณค่าในงานพื้นที่

5.)essential care

ให้บริการตามบริบท สภาพปัญหาระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชนสิ่งแวดล้อม

(การพัฒนาระดับ 3.06)

ในพื้นที่ทราบปัญหาและร่วมมือในการแก้ไขและพัฒนาสุขภาพตามประเด็นพื้นที่

มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์/ถอดบทเรียนการทำงานในรอำเภอ/ตำบลชุ/มชน

หน่วยงาน/องค์กร/แกนนำประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการทำงาน

มีการประสานความร่วมมือจากหน่วยงานเพื่อเชื่อมต่อระการแก้ไขปัญหา

หน่วยงานสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพทั้งผู้ให้บริการและรับบริการให้สามารถแก้ปัญหา

5)community participation

เครือข่ายและชุมชนร่วมกันทำงานเป็นหนึ่ง และขยายผล(การพัฒนาระดับ 2.50)

ประชาชนรับทราบถึงแนวทางและบทบาทของตนทีมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา/พัฒนา

องค์กร/แกนนำ/ประชาชนมีการปรึกษาหารือและมีส่วนร่วมการแสดงความคิดเห็น

องค์กร/แกนนำ/ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่

ชุมชนและหน่วยงานสร้างความร่วมมือในเครือข่ายพื้นที่และต่างพื้นที่

มีการร่วมกันถอดบทเรียนแก้ไขปัญหาและพัฒนางานในพื้นที่และการศึกษาดูงานมาเพื่อพัฒนา

7 แผนการนำผลงานดังกล่าวออกสู่การใช้ประโยชน์ (Implementation)

ประเด็นหนึ่งอำเภอ หนึ่งโครงการ(ODOP)ในพื้นที่ ที่ขับเคลื่อนในพื้นที่ตามการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอทั้ง  9 อำเภอคือ

 อำเภอเมือง ( รวมพื้นที่ในเขตเทศบาลเมือง) -พัฒนาการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพ                                 ด้านการดูแล ส่งเสริมสุขภาพผู้พิการได้ช่วยเหลือผู้พิการซ้ำซ้อนที่ไม่เข้าถึงบริการ มีสภาพการดำรงชีวิตไม่เหมาะสม จนสามารถใช้ชีวิตแบบคนปกติ  ปรับปรุงสภาพ ที่อยู่อาศัย การดำรงชีวิตดีขึ้น  มีการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดจาก  ญาติ/  อสม./อปท./ พมจ. รพ.สต.บูรณาการการมีส่วนร่วม

 อำเภอเชียงคำ-อำเภอสุขภาพดี 80ปียังแจ๋วพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านและในชุมชนแบบองค์รวมมีนวัตกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ คนเฒ่าเล่านิทาน /จิตอาสาดูแลผู้สูงอายุ /ภาคีเครือข่าย ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้าน เงิน  คน   ของ  เวลา เกิดการเรียนรู้ที่จะดูแลคนในชุมชนกันเอง

อำเภอแม่ใจ- การพัฒนาระบบบริการแบบครบวงจรผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง( เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง)ประชุม/ประชาคมแกนนำ/ผู้ป่วยและญาติ/จัดบริการโรคเรื้อรังเชิงรุก /คัดกรองภาวะแทรกซ้อน/เสริมสร้างความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม/กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพการฟื้นฟูสมรรถภาพ/ติดตามเยี่ยมบ้าน/อาสาสมัครผู้สูงอายุเยี่ยมบ้านสนับสนุนให้ผู้ป่วยเข้าร่วมเป็นสมาชิกชมรม/โรงเรียนผู้สูงอายุ

อำเภอดอกคำใต้-การพัฒนาระบบงานควบคุมป้องกันวัณโรคโดยชุมชนมีส่วนร่วมมีการคืนข้อมูลและวางแผนร่วมกับชุมชนในเวทีประชาคมความครอบคลุมในการคัดกรองผู้สัมผัสยังมีน้อย

อำเภอจุน -การพัฒนาระบบสุขภาพวัยรุ่นที่ยั่งยืนโดยชุมชนมีส่วนร่วมมีการพัฒนาบุคลากรและแกนนำให้คำปรึกษา อบรมให้ความรู้แกนนำนักเรียน /พัฒนาคุณภาพระบบบริการ ในสถานบริการและในโรงเรียน/พัฒนาสถานบริการ ให้ได้มาตรฐานคลินิกให้คำปรึกษา /เกิดศูนย์ให้คำปรึกษาคุณภาพวัยรุ่นในโรงเรียน

 อำเภอปง- "ชุมชนงดสุราในงานศพ และงานบุญในวัด”ผู้นำ เป็นตัวอย่างที่ดีในการลดการดื่มสุราผู้ติดสุรา เข้าระบบบำบัดสุรา วันพระ ไม่จำหน่าย ไม่ดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน ห้ามจำหน่ายสุราในอายุ ต่ำกว่า 20 ปี และในช่วงเวลาที่กำหนดมีระบบการดูแล บำบัด ทั้งในชุมชน และสถานบริการผู้ที่มีปัญหาการดื่มสุรา ที่ชุมชนมีส่วนร่วม

อำเภอภูกามยาว- “การส่งเสริมสุขภาพโดยการออกกำลังกาย(Fit For Live) เพื่อ ป้องกันโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง  ”กินปลาเป็นหลัก   กินผักเป็นยา  กินกล้วยน้ำหว้าเป็นอาหารว่าง   เดินๆหย่างๆ วันละ ๓๐ สิบนาที แป๋งอารมณ์ดี ลดบุหรี่ ลดเหล้าพบว่าเป็นการสร้างกระแสความต่อเนื่อง สะดุดและขาดความเชื่อมโยงกับแม่ข่ายทำให้การดำเนินงานล่าช้า กลุ่มเป้าหมายบางส่วนมีการเข้าร่วมกิจกรรมไม่ต่อเนื่อง งบหมด ก็หยุด

อำเภอเชียงม่วน-วาระคนเชียงม่วนชวนกันลดละเลิกสุรา “กินอิ่ม   นอนอุ่น    หุ่นดี  หนี้หมด  ทีมงานเอากัน เป็นกัน แต้” ( นายอำเภอ)

 อำเภอภูซาง-การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกทำไปพร้อมกันกับประเด็นปัญหาในพื้นที่ NCD/โรคติดต่อจากพฤติกรรมบริโภคสุกๆดิบๆ/เอดส์และวัณโรค/ปัญหาสุขภาพจิต

8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

8.1 ประโยชน์ต่อผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัครเป็นรายบุคคล

    การจัดระบบสุขภาพในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล  การดำเนินงานที่ผ่านมามีจุดอ่อนสำคัญคือขาดความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบของระบบบริการทุติยภูมิ ปฐมภูมิรวมทั้งสุขภาพองค์รวมในบาง CUP   ดังนั้น ในปี 2556  จังหวัดพะเยา ได้ดำเนินการพัฒนาสาขาบริการ บริการปฐมภูมิ ทุติยภูมิและสุขภาพองค์รวมให้มีความเชื่อมโยงกัน ผ่านการพัฒนากลไกการบริหารจัดการตามแนวทางของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DSH)   และคณะกรรมการ Service Plan  ระดับจังหวัด  ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอ มีการช่วยเหลือแบ่งปันทรัพยากรตามหลัก พบส.พี่น้องช่วยกัน  มีการพัฒนาบุคลากรโดยใช้บริบทเป็นฐาน (CBL) เพื่อให้สามารถจัดบริการที่จำเป็นได้ตามหลักเวชศาสตร์ครอบครัว โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน พัฒนาบุคลากรระดับอำเภอด้านสุนทรีย์สนทนา ,การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดกระบวนการเรียนรู้การนำงานประจำมาสู่การวิจัย ( R2R)โดยการนำประเด็นปัญหาและพัฒนาในพื้นที่รับผิดชอบในทุกอำเภอมาเป็นการเรียนรู้เพื่อพัฒนางานและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านเวชศาสตร์ครอบครัว การเยี่ยมบ้าน การดูแลสุขภาพในชุมชน ( Home Ward ,Home care ) การศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนในพื้นที่อำเภอ  การประชุมสัญจรในอำเภอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลร่วมกับการประเมินการพัฒนาการบริการปฐมภูมิในพื้นที่ (Primary Care: PCA )แต่ทั้งนี้การพัฒนาดังกล่าวยังคงความแตกต่างหลากหลายของบริบทในแต่ละพื้นที่  ซึ่งการพัฒนาบริการปฐมภูมิ ทุติยภูมิและสุขภาพองค์รวมให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้นั้นต้องอาศัยการพัฒนากลไกการบริหารจัดการเครือข่ายสุขภาพอำเภอ( DSH) ที่เข้มแข็ง จริงจัง ดังนั้นในทุกระดับควรกำหนดเป็นนโยบายสำคัญที่ต้องมีกระบวนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง  และให้การสนับสนุนการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งในการจัดการตนเองด้านสุขภาพของภาคประชาชนในรูปแบบต่างๆให้หลากหลาย  เช่น ตำบลจัดการสุขภาพ จิตอาสา การเสริมศักยภาพของชุมชน และ อสม. ในการสร้างเสริมสุขภาพตามวิถีชีวิต  เพื่อนำไปสู่การดูแลพึ่งพาตนเองและลดความแออัดในหน่วยบริการ   การสนับสนุน การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ ของเครือข่ายบริการสุขภาพ (CUP) บางแห่ง ยังขาดการสนับสนุน เชิงนโยบายในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างจริงจัง เพื่อพัฒนาศักยภาพระบบบริการปฐมภูมิซึ่งบทบาทหลักยังเป็นบุคลากรด้านสาธารณสุข   ระบบการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) มีความหลากหลาย และต้องอาศัยทักษะการปฏิบัติงานของแต่ละสาขาวิชาชีพที่เชื่อมโยงกัน  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้ข้อมูลพื้นที่เป็นฐานในการพัฒนาระบบบริการและศักยภาพบุคลากรซึ่งระดับจังหวัดดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูลออนไลน์และจำแนกทั้งระดับอำเภอ ตำบล ที่สามารถค้นหา บันทึก และประมวลผลได้ซึ่งเป็นนวัตกรรมด้านระบบข้อมูลด้วยเทคโนโลยี่  จึงเป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิการขับเคลื่อนหนึ่งโครงการหนึ่งอำเภอ ( One District One Project: ODOP )บทบาทหลักยังเป็นความรับผิดชอบของบุคลากรสาธารณสุขเป็นส่วนใหญ่ซึ่งเป็นประเด็นท้าทายที่สร้างความตระหนักให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชน ประชาชนที่ควรมีส่วนร่วมและมีความสำนึกเป็นเจ้าของในการดำเนินการเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตในชุมชนต่อไปที่จะต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

8.2 ประโยชน์ต่อวิชาชีพโดยรวม

การพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ(DHS) ทำให้มีการพัฒนาใน  รพ.สต.และชุมชน

1.จัดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน-นอกเครือข่ายฯ

2.การจัดระบบ Home health care ( HHC),Home ward

3. สร้างความร่วมมือกับองค์กรต่างๆในชุมชน

4.พัฒนาR2R นวัตกรรมในรพ.สต.อย่างต่อเนื่อง

8.3 ประโยชน์ต่อสังคม

-

8.4 อื่นๆ

บริบทพื้นที่มีการทำงานต่อยอดจากงานเดิมที่ทำอยู่แล้ว DHS ทำให้เกิดเชิงรุกมากขึ้นและคืนข้อมูลให้ประชาชนในพื้นที่เพื่อความเข้าใจ เห็นความสำคัญ  โดยจังหวัดพะเยากำหนดเป็นนโยบาย ตัวชี้วัดหลัก   ให้อิสระการดำเนินงาน  แผนงาน/โครงการ ตามสภาพปัญหาและบริบทพื้นที่ในระดับอำเภอ ซึ่งสอดคล้องกับสรุปผลการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ เมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ(2556)ที่เริ่มพัฒนากระบวนการจากสภาพปัญหา สถานการณ์ในพื้นที่มาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงาน และสอดคล้องกับการศึกษา “เรื่องการประเมินผลการพัฒนาDHSเครือข่ายบริการที่ 8 จังหวัดอุดรธานี” ของปรีดี แต้อารักษ์และคณะ(2557)ได้ประเมินผลการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดในเครือข่ายบริการจำนวน 7 จังหวัด คือ อุดรธานี,สกลนคร,นครพนม,เลย,หนองบัวลำภู,หนองคายและบึงกาฬ  พบว่าการขับเคลื่อนการพัฒนาการจัดการเครือข่ายระบบสุขภาพระดับอำเภอ  มีการบูรณาการ แผนงาน/กิจกรรม ร่วมกับโครงการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ที่จัดทำตามปีงบประมาณและได้สร้างเครือข่ายเพิ่มขึ้นโดยการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคส่วนท้องถิ่น ท้องที่ แกนนำองค์กรในชุมชนอาสาสมัครต่างๆที่เป็นต้นทุนเดิมด้านศักยภาพบุคคล และทรัพยากร แต่ได้เพิ่มกิจกรรม รณรงค์สร้างกระแส และทำงานเชิงรุกด้านบริการถึงระดับบุคคล  ครอบครัวซึ่งมีหลายหน่วยงาน องค์กรเข้ามามีส่วนร่วมทำงานเป็นทีมหนึ่งเดียว และเชื่อมโยงบทบาทตามภารกิจที่ผสมผสานการทำงาน 

                  ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุข  อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)ในพื้นที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดด้านการศึกษาชุมชนจังหวัดพะเยา ( โครงการล้านนา :LANNA )  ทีมนำ,แกนนำต่างๆ ในองค์กรเครือข่ายระดับอำเภอ ได้พัฒนาการบริการจัดการด้านเกณฑ์คุณภาพบริการปฐมภูมิ,เวชปฏิบัติครอบครัว,การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์,  การบริหารจัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอ(PCA/Family Medicine/Humanize care/CUP Management)  พื้นที่ระดับอำเภอได้จัดตั้ง“คณะกรรมการชุดเดียว” มีนายอำเภอ เป็นประธานและมีหลายภาคส่วนเป็นคณะกรรมการทำให้เกิดการมีส่วนร่วมมากขึ้น”   (ข้อเสนอแนะจากกลุ่มสาธารณสุขอำเภอ)   “ ถ้านโยบายการจัดการระบบสุขภาพและคุณภาพชีวิตประชาชน  ลงที่ปกครองจะมีอำนาจการสั่งการ(Power) มากขึ้น  คนทำงานบางคนยังติดกรอบวิชาชีพซึ่งสหวิชาชีพยังไม่อยู่ในคนเดียวที่สามารถทำงานได้หลายบทบาท”(ข้อเสนอแนะจากกลุ่มแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว) 

ด้านการจัดทำโครงการ “ หนึ่งอำเภอ หนึ่งโครงการ(ODOP)” ทุกอำเภอมีการวิเคราะห์สภาพปัญหาและกำหนดประเด็นโครงการที่ใช้ขับเคลื่อน  นำร่องการจัดการระบบสุขภาพอำเภอ (DHS)ที่มีความแตกต่างกันของสภาพและบริบทของพื้นที่ จากงานประจำที่ดำเนินการต่อเนื่องที่ไม่เพิ่มภาระงานใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของ    แนวทางการพัฒนานั้น ถ้ากำหนดประเด็นODOP ด้วย “ โรค ”ส่วนใหญ่ผู้ปฏิบัติงานเป็นบุคลกรสาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)   หากเป็นกลุ่มเป้าหมายการทำงานกับกลุ่มประชาชนที่มีความหลากหลายของสภาพปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม  เพศ  อายุ  บริบทสภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่นั้น หน่วยงานและองค์กรต่างๆได้มีบทบาทเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น  ทำงานได้กว้างเป็นทีมงานหนึ่งเดียวตามภารกิจ มีการบูรณาการ ทำงานอย่างจริงจัง ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาเรื่อง “ การพัฒนาการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอจังหวัดน่านปี 2556” ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน พบว่า การคัดเลือกประเด็นการพัฒนา “หนึ่งโครงการ หนึ่งอำเภอ( ODOP )”โดยการใช้ข้อมูลปัญหาพื้นที่ บูรณาการกับงานประจำที่ได้ดำเนินการ  ทำให้ความรู้สึกของการรับภาระงานที่ลดลง และต่อยอดการพัฒนา ด้วยต้นทุนเดิมของภาคีเครือข่ายในการดำเนินการในตำบลจัดการสุขภาพเข้มแข็งและชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา  จากการพัฒนาในหลายพื้นที่ในระดับหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ ที่ขับเคลื่อนต่อยอดการพัฒนาโครงการเดิมที่ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมาแต่เพิ่มความเข้มข้น เชิงรุกมากขึ้น  ส่วนจังหวัดพะเยามีความแตกต่างจากจังหวัดน่านคือ กระบวนการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขด้านเวชศาสตร์ครอบครัวที่เน้นการจัดการสุขภาพในระดับบุคล ครอบครัว โดยเครือข่ายแพทย์เวชศาสตร์และพยาบาลเวชปฏิบัติจังหวัดพะเยาเป็นผู้ให้คำปรึกษาทีมให้บริการเชิงรุกด้านสุขภาพ และพัฒนาทีมเยี่ยมบ้านแบบสหสาขาวิชาชีพบูรณาการงานสุขภาพกับการสวัสดิการสงเคราะห์( อำเภอเมือง,แม่ใจ,เชียงคำ) และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนการทำงานในระดับอำเภอ

  การพัฒนาทีมแกนนำของ เครือข่ายสุขภาพอำเภอ( โรงพยาบาล/สาธารณสุขอำเภอ/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล) ที่ต้องมีบทบาทในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติเชื่อมโยง สถานการณ์เชิงระบบ มีวิสัยทัศน์ และเป้าหมายร่วมกัน นำการขับเคลื่อน ควรมีการวิเคราะห์ข้อมูล และคืนข้อมูลให้กับทีมหน่วยงาน ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ระดับอำเภอ เป็นระยะ เพื่อปรับปรุง และดำเนินการตามโครงการ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในกระบวนการอย่างแท้จริง   วางระบบและสนับสนุนการดำเนินงานงาน ตลอดรวมถึงการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน สร้างการส่วนร่วมกับชุมชนในการดำเนินงานโรงเรียนนวตกรรมสุขภาพชุมชน กองทุนสุขภาพ แผนที่ทางเดินยุทธ์ศาสตร์ ค่ากลาง แผนสุขภาพตำบล    (สร้างทีมกระบวนการ) ระบบและสนับสนุนการดำเนินงานงาน ตลอดรวมถึงการติดตามประเมินผลการดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยอย่างบูรณาการต่อเนื่องและเป็นองค์รวม เชื่อมต่อโรงพยาบาลชุมชน กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและชุมชน การพัฒนากลไกการบริหารจัดการตามแนวทางของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DSH)  ไม่มีวันจบควรพัฒนาต่อเนื่องไปตามบริบทสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนในพื้นที่ ที่แปรไปตามสภาวะ สภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง  สิ่งแวดล้อม ฯลฯ (สุรเกียรติ  อาชานานุภาพ:2556)

 

ความก้าวหน้าในการดำเนินการวิจัย/ปัญหาหรืออุปสรรคระหว่างทำวิจัย

การดำเนินงานโครงการ DHS : District Health System ตามนโยบายสำคัญของกระทรวง จังหวัดพะเยามีเป้าหมายการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอทั้ง  9 อำเภอ 

          อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานที่ผ่านมามีจุดอ่อนสำคัญคือขาดความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบของระบบบริการทุติยภูมิ ปฐมภูมิรวมทั้งสุขภาพองค์รวมในบาง CUP   ดังนั้น ในปี 2556  จังหวัดพะเยา ได้ดำเนินการพัฒนาสาขาบริการ บริการปฐมภูมิ ทุติยภูมิและสุขภาพองค์รวมให้มีความเชื่อมโยงกัน ผ่านการพัฒนากลไกการบริหารจัดการตามแนวทางของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ( District Health System :DSH)   และคณะกรรมการ Service Plan  ระดับจังหวัด  ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอ มีการช่วยเหลือแบ่งปันทรัพยากรตามหลัก พบส.พี่น้องช่วยกัน  มีการพัฒนาบุคลากรโดยใช้บริบทเป็นฐาน (CBL) เพื่อให้สามารถจัดบริการที่จำเป็นได้ตามหลักเวชศาสตร์ครอบครัว โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน  แต่ทั้งนี้การพัฒนาดังกล่าวยังคงความแตกต่างหลากหลายของบริบทในแต่ละพื้นที่        

 -การพัฒนาบริการปฐมภูมิ ทุติยภูมิและสุขภาพองค์รวมให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้นั้นต้องอาศัยการพัฒนากลไกการบริหารจัดการเครือข่ายสุขภาพอำเภอ( DSH) ที่เข้มแข็ง จริงจัง ดังนั้นในทุกระดับควรกำหนดเป็นนโยบายสำคัญที่ต้องมีกระบวนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง  และให้การสนับสนุนการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งในการจัดการตนเองด้านสุขภาพของภาคประชาชนในรูปแบบต่างๆให้หลากหลาย  เช่น ตำบลจัดการสุขภาพ จิตอาสาต่างๆ  การเสริมศักยภาพของชุมชน และอสม. ในการสร้างเสริมสุขภาพตามวิถีชีวิต  เพื่อนำไปสู่การดูแลพึ่งพาตนเองและลดความแออัดในหน่วยบริการ

     - การสนับสนุน การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ ของเครือข่ายบริการสุขภาพ (CUP) บางแห่ง  ยังขาดการสนับสนุนเชิงนโยบายอย่างจริงจัง เพื่อพัฒนาศักยภาพระบบบริการปฐมภูมิ

    - ระบบการปฏิบัติงาน ใน รพ.สต. มีความหลากหลาย และต้องอาศัยทักษะการปฏิบัติงานของแต่ละสาขาวิชาชีพที่เชื่อมโยงกัน  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้ข้อมูลพื้นที่เป็นฐานในการพัฒนาระบบบริการและศักยภาพบุคลากร  จึงเป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิ

การศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานเครือข่ายระดับอำเภอเป็นการศึกษาจากการทำงานตามนโยบายทีมีการเร่งรัดเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายซึ่งการทำงานตามบริบทพื้นที่ที่มีความแตกต่างจากรากฐานเดิมของสถานการณ์ด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและลักษณะทางประชากรในพื้นที่ จึงไม่สามารถสรุปผลในเชิงปริมาณและคุณภาพภาพรวมได้ชัดเจนจึงต้องมีการจำแนกประเด็น “ หนึ่งอำเภอ หนึ่งโครงการ ”มาเป็นแนวทางการวิเคราะห์การมีส่วนร่วม จากการบันทึกตามเครื่องมือที่สร้างขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลและผู้ให้ข้อมูลใช้ตัวแทนในพื้นที่ที่แตกต่างกันตามประเด็นการจัดการDHS และสรุปจากรายงานผลการดำเนินงานระดับพื้นที่ต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา รวมทั้งสรุปผลจากการจัดทีมออกนิเทศงาน ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานในระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ที่มีการเลือกติดตามผล บูรณาการกับงานสาธารณสุขในพื้นที่และการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานและการบันทึกข้อมูลจากผู้ช่วยวิจัยในระดับอำเภอ ที่ทีมมีความแตกต่างด้านคุณลักษณะของบุคคลด้านทักษะ การปฏิบัติ 

อัพเดทความเคลื่อนไหว

29 มี.ค. 2557 | การศึกษากระบวนการรจัดการ การบริหารงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System: DHS )อย่างเป็นเอกภาพ ( Unity District Health Team ) จังหวัดพะเยา (District Health System: DHS Participatory Action on Unity District Health Team in Phayao Province.)

๑.      เรื่อง “การประเมินกระบวนการจัดการ การบริหารงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System: DHS )อย่างเป็นเอกภาพ ( Unity District Health Team ) จังหวัดพะเยา

เป้าประสงค์การศึกษา

๑. เพื่อพัฒนารูปแบบ กิจกรรมและกระบวนการในการจัดการด้านการบริหารเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System: DHS)โดย มี แนวทาง ขั้นตอน และดำเนินการตามกระบวนการสนับสนุนการทำงานแบบมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพ ผสมผสาน การส่งเสริม ป้องกัน  รักษา ฟื้นฟูสภาพของประชาชนให้มีสุขภาพดีถ้วนหน้า ทั้งอำเภอ “ อำเภอสุขภาวะ” (Input, Activity, process, operations)

๒.นำผลการศึกษาและพัฒนากระบวนการเชิงกระบวนการมีส่วนร่วม ( Participatory Action Research ) ผลสำเร็จ ปัญหา   อุปสรรค   การแก้ไขปัญหา   แนวทางการพัฒนาการบริหารงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอที่เป็นเอกภาพ (Unity District Health Team) จากผลลัพท์ของการดำเนินงานตาม บทบาทงานระบบสาธารณสุขในระดับอำเภอ มีความสำคัญในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติจากระดับ จังหวัด อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน/ชุมชน (Product ,Out Put ,Impact  )

วัตถุประสงค์  

1.เพื่อประเมินผล  กิจกรรมและกระบวนการ  บริหารจัดการเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DHS) ในพื้นที่จังหวัดพะเยา

2.เพื่อศึกษา การพัฒนาศักยภาพ และรูปแบบในการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมในระบบสุขภาพระดับอำเภออย่างมีเอกภาพ ( Unity District Health Team ) ในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DHS) ระดับอำเภอ  ตำบล หมู่บ้าน ตามสภาพปัญหาบริบท ในพื้นที่

 วิธีการศึกษา    มีรูปแบบการศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( Participation Action Research ) และ การประเมินผล  ( Evaluation Research )โดยนำแนวคิดการประเมินผล แบบ  CIPP Model  ในขั้นตอนการดำเนินงาน ตามโครงการกิจกรรมและกระบวนการ  บริหารจัดการเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DHS)  ( Context  ,  Input ,   Process,  Product  )

กลุ่มตัวอย่าง  เลือกแบบเจาะจง ( Purposive  Sampling ) ในระดับอำเภอทุกแห่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่มีการดำเนินการตำบลจัดการสุขภาพ  และกรณีศึกษา รายอำเภอ จำนวน 1 อำเภอ

1.เป้าหมาย/พื้นที่  เครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DHS) ทุกแห่ง  9 อำเภอในพื้นที่จังหวัดพะเยา ได้แก่ อำเภอเมือง ( รวมพื้นที่ในเขตเทศบาลเมือง ซึ่งมีศูนย์สาธารณสุขชุมชนเมือง : ศสม. ) , อำเภอเชียงคำ,  อำเภอแม่ใจ ,อำเภอดอกคำใต้, อำเภอจุน , อำเภอปง,  อำเภอภูกามยาว, อำเภอเชียงม่วน,อำเภอภูซาง

2.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล    ในพื้นที่ตำบล ที่มีการดำเนินการตำบลจัดการสุขภาพ   ในปี งบประมาณ 2555-2556

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

  เก็บรวบรวมข้อมูลโดย  สร้างแบบรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอนของแนวทางการประเมินเครือข่ายสุขภาพอำเภอและแผนงานการดำเนินงานตามกระบวนการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ( District Health System :DHS)   5 ลำดับการพัฒนา และประเด็น หนึ่งอำเภอ หนึ่งโครงการ ( ODOP )  กระบวนการพัฒนาเครือข่ายบริการปฐมภูมิ    ( Primary care Award : PCA )  ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขและแผนงานสาธารณสุขระดับจังหวัดพะเยา  และถอดบทเรียนจากการเรียนรู้จากการแก้ไขปัญหาและพัฒนาในพื้นที่ (Context   Base Learning :CBL)  ตามกรอบการประเมินของ CIPP Model โดยรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์  เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ได้จากแบบสอบถามในเนื้อหา กิจกรรมปัญหาและข้อเสนอแนะ และข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากการศึกษาจากเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) ตามองค์ประกอบดังนี้

Context –นโยบายระบบสุขภาพระดับ ส่วนกลาง เขต จังหวัด   อำเภอ   ตำบล หมู่บ้าน บริบทพื้นที่ สถานการณ์การจัดบริการด้านสาธารณสุข ระดับอำเภอและปฐมภูมิที่มีอยู่ก่อนดำเนินงานโครงการบริหารจัดการเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DHS) ในพื้นที่

Input- แผนระบบบริการสุขภาพระดับจังหวัด ( Service Plan ) ,กิจกรรม โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ( District Health System :DHS)  ,กระบวนการพัฒนาคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ  ( Primary care Award : PCA ), งบประมาณ,บุคลากร, ทีมงาน,วัสดุอุปกรณ์ และกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ฯลฯ       

Process –กระบวนการ 5 ขั้นตอน DHS ด้วยกลไกบันได 5 ขั้น ตั้งแต่การมอบนโยบาย และการปฏิบัติ ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล    กิจกรรม, การบริหารจัดการ, การมีส่วนร่วม, การดำเนินการตามแผนงาน โครงการประเด็น การพัฒนางานสาธารณสุขในพื้นที่ ระดับอำเภอ การควบคุม ติดตาม ประเมินผล (CUP Management, PCA, CBL)

Product –ผลลัพธ์การดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรมของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ( District Health System :DHS)  ผลลัพท์ความสำเร็จตามประเด็นการขับเคลื่อนการพัฒนางานสาธารณสุข  การบูรณาการ องค์กรในระดับ อำเภอ  ตำบล  หมู่บ้าน  การจัดการสุขภาพ  กระบวนการทำแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม ( SRM) นวัตกรรมชุมชนที่แก้ปัญหาได้    กิจกรรมการดูแลตนเองและพึ่งตนเองด้านสุขภาพ  ชุมชนเข้มแข็ง ฯลฯ

Impact –ผลกระทบต่อ การดำเนินงาน ในระบบสาธารณสุขในพื้นที่   การพึ่งตนเองด้านสุขภาพชุมชนเข้มแข็ง การแก้ไขปัญหา อุปสรรค สภาพพื้นที่ การเมือง การสื่อสาร เทคโนโลยี ฯลฯ

ผลการรวบรวมข้อมูลศึกษาเบื้องต้น ด้วยการติดตามประเมินผลประเด็น ODOP ในพื้นที่ของแต่ละอำเภอ มีการพิจารณาประเด็นจากการบรูณาการต่อยอดกับงานปัญหาในพื้นที่ และงานประจำที่ต้องพัฒนากระบวนการงาน  โดยเน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนากระบวนงานดังกล่าวให้สอดคล้องกับภารกิจและความต้องการของชุมชนในพื้นที่ ซึ่งในแต่ละอำเภอ โดยมีประเด็นดังนี้

1 อำเภอเมืองพะเยา เรื่องการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส เครือข่ายสุขภาพ

 2 อำเภอแม่ใจ เรื่องการพัฒนาระบบบริการผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน)

3 อำเภอเชียงคำและอำเภอภูซาง เรื่องการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน)

4 อำเภอเชียงม่วน เรื่องการพัฒนาระบบการดูแลกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน

5 อำเภอปง เรื่องการพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

เพื่อก้าวสู่อำเภอสุขภาวะด้านโรคเรื้อรัง

6 อำเภอดอกคำใต้ เรื่องการพัฒนาระบบงานควบคุมป้องกันวัณโรคโดยชุมชนมีส่วนร่วม

7 อำเภอจุน เรื่องการพัฒนาระบบสุขภาพวัยรุ่นที่ยั่งยืนโดยชุมชนมีส่วนร่วม

8 อำเภอภูกามยาว เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพดดยการออกกำลังกาย (Fit for life ) เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

วิเคราห์การติดตามและประเมินผลและพัฒนาบุคลากร ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอให้แก่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ การจัดเวทีพัฒนาแผนงานโครงการของอำเภอ ในเขตพื้นที่ จังหวัดพะเยา และการจัดประชุมสรุปเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ DHSด้าน

          -การบริหารจัดการโครงการและแผนงาน การนำนโยบายสู่การดำเนินงานในระดับปฏิบัติการบริหารงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System: DHS )อย่างเป็นเอกภาพ ( Unity District Health Team ) จังหวัดพะเยา

          - การติดตาม นิเทศ กำกับ และประเมินผล โครงการ

          - การรวมรวม วิเคราะห์ข้อมูล และ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( Participatory Action Research )

          - การบริหารจัดการ  สร้างทีมงานผู้มีส่วนร่วมวิจัยในกลุ่มงานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยาและพื้นที่ ทุกอำเภอ จังหวัดพะเยา

29 มี.ค. 2557 | “กระบวนการจัดการ การบริหารงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System: DHS )อย่างเป็นเอกภาพ ( Unity District Health Team ) จังหวัดพะเยา

ประโยชน์ของผลงาน

๑. เพื่อพัฒนารูปแบบ กิจกรรมและกระบวนการในการจัดการด้านการบริหารเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System: DHS)โดย มี แนวทาง ขั้นตอน และดำเนินการตามกระบวนการสนับสนุนการทำงานแบบมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพ ผสมผสาน การส่งเสริม ป้องกัน  รักษา ฟื้นฟูสภาพของประชาชนให้มีสุขภาพดีถ้วนหน้า ทั้งอำเภอ “ อำเภอสุขภาวะ” (Input, Activity, process, operations)

๒.นำผลการศึกษาและพัฒนากระบวนการเชิงกระบวนการมีส่วนร่วม ( Participatory Action Research ) ผลสำเร็จ ปัญหา   อุปสรรค   การแก้ไขปัญหา   แนวทางการพัฒนาการบริหารงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอที่เป็นเอกภาพ (Unity District Health Team) จากผลลัพท์ของการดำเนินงานตาม บทบาทงานระบบสาธารณสุขในระดับอำเภอ มีความสำคัญในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติจากระดับ จังหวัด อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน/ชุมชน (Product ,Out Put ,Impact  )

วัตถุประสงค์  

1.เพื่อประเมินผล  กิจกรรมและกระบวนการ  บริหารจัดการเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DHS) ในพื้นที่จังหวัดพะเยา

2.เพื่อศึกษา การพัฒนาศักยภาพ และรูปแบบในการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมในระบบสุขภาพระดับอำเภออย่างมีเอกภาพ ( Unity District Health Team ) ในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DHS) ระดับอำเภอ  ตำบล หมู่บ้าน ตามสภาพปัญหาบริบท ในพื้นที่

 วิธีการศึกษา    มีรูปแบบการศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( Participation Action Research ) และ การประเมินผล  ( Evaluation Research )โดยนำแนวคิดการประเมินผล แบบ  CIPP Model  ในขั้นตอนการดำเนินงาน ตามโครงการกิจกรรมและกระบวนการ  บริหารจัดการเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DHS)  ( Context  ,  Input ,   Process,  Product  )

กลุ่มตัวอย่าง  เลือกแบบเจาะจง ( Purposive  Sampling ) ในระดับอำเภอทุกแห่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่มีการดำเนินการตำบลจัดการสุขภาพ  และกรณีศึกษา รายอำเภอ จำนวน 1 อำเภอ

1.เป้าหมาย/พื้นที่  เครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DHS) ทุกแห่ง  9 อำเภอในพื้นที่จังหวัดพะเยา ได้แก่ อำเภอเมือง ( รวมพื้นที่ในเขตเทศบาลเมือง ซึ่งมีศูนย์สาธารณสุขชุมชนเมือง : ศสม. ) , อำเภอเชียงคำ,  อำเภอแม่ใจ ,อำเภอดอกคำใต้, อำเภอจุน , อำเภอปง,  อำเภอภูกามยาว, อำเภอเชียงม่วน,อำเภอภูซาง

2.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล    ในพื้นที่ตำบล ที่มีการดำเนินการตำบลจัดการสุขภาพ   ในปี งบประมาณ 2555-2556

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

  เก็บรวบรวมข้อมูลโดย  สร้างแบบรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอนของแนวทางการประเมินเครือข่ายสุขภาพอำเภอและแผนงานการดำเนินงานตามกระบวนการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ( District Health System :DHS)   5 ลำดับการพัฒนา และประเด็น หนึ่งอำเภอ หนึ่งโครงการ ( ODOP )  กระบวนการพัฒนาเครือข่ายบริการปฐมภูมิ    ( Primary care Award : PCA )  ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขและแผนงานสาธารณสุขระดับจังหวัดพะเยา  และถอดบทเรียนจากการเรียนรู้จากการแก้ไขปัญหาและพัฒนาในพื้นที่ (Context   Base Learning :CBL)  ตามกรอบการประเมินของ CIPP Model โดยรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์  เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ได้จากแบบสอบถามในเนื้อหา กิจกรรมปัญหาและข้อเสนอแนะ และข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากการศึกษาจากเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) ตามองค์ประกอบดังนี้

Context –นโยบายระบบสุขภาพระดับ ส่วนกลาง เขต จังหวัด   อำเภอ   ตำบล หมู่บ้าน บริบทพื้นที่ สถานการณ์การจัดบริการด้านสาธารณสุข ระดับอำเภอและปฐมภูมิที่มีอยู่ก่อนดำเนินงานโครงการบริหารจัดการเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System :DHS) ในพื้นที่

Input- แผนระบบบริการสุขภาพระดับจังหวัด ( Service Plan ) ,กิจกรรม โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ( District Health System :DHS)  ,กระบวนการพัฒนาคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ  ( Primary care Award : PCA ), งบประมาณ,บุคลากร, ทีมงาน,วัสดุอุปกรณ์ และกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ฯลฯ       

Process –กระบวนการ 5 ขั้นตอน DHS ด้วยกลไกบันได 5 ขั้น ตั้งแต่การมอบนโยบาย และการปฏิบัติ ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล    กิจกรรม, การบริหารจัดการ, การมีส่วนร่วม, การดำเนินการตามแผนงาน โครงการประเด็น การพัฒนางานสาธารณสุขในพื้นที่ ระดับอำเภอ การควบคุม ติดตาม ประเมินผล (CUP Management, PCA, CBL)

Product –ผลลัพธ์การดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรมของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ( District Health System :DHS)  ผลลัพท์ความสำเร็จตามประเด็นการขับเคลื่อนการพัฒนางานสาธารณสุข  การบูรณาการ องค์กรในระดับ อำเภอ  ตำบล  หมู่บ้าน  การจัดการสุขภาพ  กระบวนการทำแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม ( SRM) นวัตกรรมชุมชนที่แก้ปัญหาได้    กิจกรรมการดูแลตนเองและพึ่งตนเองด้านสุขภาพ  ชุมชนเข้มแข็ง ฯลฯ

Impact –ผลกระทบต่อ การดำเนินงาน ในระบบสาธารณสุขในพื้นที่   การพึ่งตนเองด้านสุขภาพชุมชนเข้มแข็ง การแก้ไขปัญหา อุปสรรค สภาพพื้นที่ การเมือง การสื่อสาร เทคโนโลยี ฯลฯ

 

 

ผลการรวบรวมข้อมูลศึกษาเบื้องต้น ด้วยการติดตามประเมินผลประเด็น ODOP ในพื้นที่ของแต่ละอำเภอ มีการพิจารณาประเด็นจากการบรูณาการต่อยอดกับงานปัญหาในพื้นที่ และงานประจำที่ต้องพัฒนากระบวนการงาน  โดยเน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนากระบวนงานดังกล่าวให้สอดคล้องกับภารกิจและความต้องการของชุมชนในพื้นที่ ซึ่งในแต่ละอำเภอ โดยมีประเด็นดังนี้

1 อำเภอเมืองพะเยา เรื่องการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส เครือข่ายสุขภาพ

 2 อำเภอแม่ใจ เรื่องการพัฒนาระบบบริการผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน)

3 อำเภอเชียงคำและอำเภอภูซาง เรื่องการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน)

4 อำเภอเชียงม่วน เรื่องการพัฒนาระบบการดูแลกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน

5 อำเภอปง เรื่องการพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

เพื่อก้าวสู่อำเภอสุขภาวะด้านโรคเรื้อรัง

6 อำเภอดอกคำใต้ เรื่องการพัฒนาระบบงานควบคุมป้องกันวัณโรคโดยชุมชนมีส่วนร่วม

7 อำเภอจุน เรื่องการพัฒนาระบบสุขภาพวัยรุ่นที่ยั่งยืนโดยชุมชนมีส่วนร่วม

8 อำเภอภูกามยาว เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพดดยการออกกำลังกาย (Fit for life ) เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

วิเคราห์การติดตามและประเมินผลและพัฒนาบุคลากร ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอให้แก่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ การจัดเวทีพัฒนาแผนงานโครงการของอำเภอ ในเขตพื้นที่ จังหวัดพะเยา และการจัดประชุมสรุปเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ DHS

( การประเมินและติดตามผลลัพท์ในพื้นที่ตามกระบวนการพัฒนาต่อเนื่อง)

ความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงานนั้น

          -การบริหารจัดการโครงการและแผนงาน การนำนโยบายสู่การดำเนินงานในระดับปฏิบัติการบริหารงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System: DHS )อย่างเป็นเอกภาพ ( Unity District Health Team ) จังหวัดพะเยา

          - การติดตาม นิเทศ กำกับ และประเมินผล โครงการ

          - การรวมรวม วิเคราะห์ข้อมูล และ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( Participatory Action Research )

          - การบริหารจัดการ  สร้างทีมงานผู้มีส่วนร่วมวิจัยในกลุ่มงานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยาและพื้นที่ ทุกอำเภอ จังหวัดพะเยา

29 มี.ค. 2557 | กระบวนการจัดการ การบริหารงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System: DHS )อย่างเป็นเอกภาพ ( Unity District Health Team ) จังหวัดพะเยา District Health System: DHS Participatory Action on Unity District Health Team in Phayao Province.
29 มี.ค. 2557 | กระบวนการจัดการ การบริหารงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ( District Health System: DHS )อย่างเป็นเอกภาพ ( Unity District Health Team ) จังหวัดพะเยา District Health System: DHS Participatory Action on Unity District Health Team in Phayao Province.

อัลบั้มภาพ

ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้

วิดีโอ

ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้
  • อ่าน 25074 คน
  • พิมพ์หน้านี้

ความคิดเห็น

กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา's picture
lertwacha2504 | 29 มี.ค. 2557

การศึกษานี้เป็นการพัฒนางานประจำเพื่อให้มีการขับเคลื่อน นโยบายไปสู่การทำงานที่ บูรณาการ การจัดการทรัพยากรในพื้นที่ ระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน/ชุมชน

  • ตอบกลับ

แสดงความคิดเห็น

Skip to Top
กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา's picture
นักวิจัยหลัก: กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา
เมื่อ 29 มี.ค. 2557

ทีมงาน

ติดต่อ

นักวิจัย สุรีย์ภรณ์ เลิศวัชรสกุล ,สุทธิพร ชมภูศรี กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล คุณภาพและรูปแบบบริการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา ศูนย์ราชการจังหวัดพะเยา อ.เมือง จ.พะเยา 56000 โทร 054 409126-28 , 089 9527372

รางวัล

ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้

เอกสาร

  • สรุปเอกสารฉบับย่อ
    (.doc | 2166kb)
  • การมีส่วนร่วมการขับเคลื่อนกระบวนการจัดการเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ จังหวัดพะเยา
    (.doc | 233kb)
ส่งต่อให้เพื่อน

ติดต่อเรา

โครงการสนับสนุนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยระดับประเทศ

อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘o พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕o ชั้น 2
เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700

โทร. 02-419-2661  อีเมล r2r.thai@gmail.com

เครือข่าย R2R | ถาม-ตอบ | ติดต่อเรา

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ R2R
  • ข่าวสารและกิจกรรม
  • เวทีสร้างงานวิจัย
  • คลังความรู้
  • อัลบั้มภาพ
  • เครือข่าย R2R

ติดตามเรา

  • Facebook
  • Twitter
  • Youtube
  • RSS feed