Skip to main content
R2R

Login Pop

  • เข้าสู่ระบบ
    • สมัครสมาชิก
    • ขอรหัสผ่านใหม่
  • |
  • สมัครสมาชิก
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ R2R
  • ข่าวสารและกิจกรรม
    • ข่าวสาร
    • กิจกรรม
  • เวทีสร้างงานวิจัย
  • คลังความรู้
    • วิดีโอ
    • หนังสือ
    • งานวิจัย
    • E-Journal
    • จดหมายข่าว
  • อัลบั้มภาพ
  • เครือข่าย R2R
หน้าแรก » เวทีสร้างงานวิจัย » นวัตกรรมเช็คสุขภาพทางเพศตนเองออนไลน์

นวัตกรรมเช็คสุขภาพทางเพศตนเองออนไลน์

  • ขนาดตัวอักษร  | |

พัฒนาโครงร่างวิจัย

1. ชื่อโครงการ (ภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ)

นวัตกรรมเช็คสุขภาพทางเพศตนเองออนไลน์

2. ภูมิหลังและที่มาของโครงการ (Background and Rational)

จังหวัดพิษณุโลก มีเมืองใหญ่ ๒ แห่งที่มีประชากรอยู่อาศัยหนาแน่นเกิน ๑๐,๐๐๐ คนความหนาแน่นของประชากรมากกว่า ๓,๘๐๐ คน ต่อพื้นที่ ๑ ตารางกิโลเมตร จากรายงาน Annual Surveillance Report  ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๒ พิษณุโลก ในปี ๒๕๕๘  

เขตจังหวัดพิษณุโลกมีอัตราป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หลัก ๕ โรคหลัก ( หนองในแท้, หนองในเทียม, ซิฟิลิส, แผลริมอ่อน , ฝีมะม่วง ) จำนวน ๕๙.๖ ต่อแสนประชากร โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่มีสัดส่วนผู้ป่วยโรคนี้มากถึงร้อยละ ๖๗ ของผู้ป่วยทั้งจังหวัด ความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เขตเมืองจึงมากกว่านอกเขตเมืองประมาณ ๒ เท่า  เมื่อวิเคราะห์แล้วอัตราป่วยนี้ยังต่ำอยู่มาก เพราะเป็นข้อมูลรายงาน ๕๐๖ เพียงส่วนเดียวจากโรงพยาบาลของรัฐในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น
      จึงยังมีประชาชนในเขตเมืองอีกจำนวนมากที่ยังเข้าไม่ถึงบริการเชิงรุกในการตรวจคัดกรองโรค เพื่อรับทราบสถานะความเจ็บป่วยของตนเอง คนที่อาศัยในเขตเมืองต้องการสื่อสารกันตลอด ๒๔ ชั่วโมง  ผู้คนทำงานได้แม้กระทั่งไปเที่ยว หรือเที่ยวได้แม้กระทั่งทำงาน  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนานวัตกรรมรูปแบบใหม่ๆ ในการป้องกันควบคุมโรค ให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนในเขตเมือง และสนับสนุนการพัฒนาสาธารณสุข สู่ Thailand 4.0 อันจะทำให้การป้องกันควบคุมโรคติดต่อนี้ในเขตเมืองดำเนินการได้อย่างไม่ครอบคลุม รอบด้าน

3. วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย (Objective)

3.1 วัตถุประสงค์หลัก (Primay Objective)

๑. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้เข้าถึงบริการเชิงรุกการคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รับรู้สถานะระดับความเสี่ยงของตนเองในเบื้องต้น ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ได้เพิ่มขึ้น
    ๒. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง เกิดความตระหนักในการป้องกันโรคโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วยตนเองมากขึ้น

3.2 วัตถุประสงค์รอง (Secondary Objective)

-

4. วิธีการดำเนินโครงการ (Materials and Methods)

4.1 การออกแบบการวิจัย (Study Design)

๑. สร้างนวัตกรรมเช็คสุขภาพทางเพศตนเองออนไลน์

   ๒. ดำเนินการให้ผู้เชี่ยวชาญ / ผู้ทรงคุณวุฒิ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ

   ๓. พัฒนาระบบกึ่งปัญญาประดิษฐ์การประเมินตนเองออนไลน์ฯ  ดำเนินการทดลอง สนับสนุน  และประเมินการใช้

4.2 ประชากรที่ศึกษา (Study Population)

-

4.3 แหล่งที่มาของประชากร (Source of Study Population)

-

4.4 การได้มาซึ่งประชากรที่ศึกษา (Method of Recruitment of Study Population)

-

4.5 เกณฑ์การคัดเลือกประชากรที่ศึกษา (Selection Criteria)

4.5.1 เกณฑ์การคัดเลือกผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัคร (Inclusion Criteria)

-

4.5.2 เกณฑ์ไม่รับเข้าในการศึกษา (Exclusion Criteria)

-

4.5.3 เกณฑ์การถอนผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัครหรือยุติการเข้าร่วมการวิจัย (Withdrawal or Termination Criteria)

-

4.6 วิธีการแบ่งกลุ่มประชากรที่ศึกษา (Allocation of Study Population)

-

4.7 จำนวนประชากรที่ต้องการจะศึกษา (Sample Size) และการคำนวณขนาดตัวอย่าง (Sample Size Calculation)

-

4.8 ขั้นตอนการศึกษา (Study Procedures)

-

4.9 การวัดผล/การวิเคราะห์ผลการวิจัย (Outcome Measurement/Data Analysis) (กระบวนการวัดผล/ วิเคราะห์ผล รวมถึงสถิติที่ใช้)

-

4.10 หลักฐาน ข้อมูล หรือเอกสารอ้างอิงที่แสดงว่าการวิจัยนี้น่าจะมีความปลอดภัยและ/หรือมีประโยชน์ต่อผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัคร/สังคม

ได้นวัตกรรมตรวจสุขภาพทางเพศตนเองออนไลน์  โดยมีลักษณะรูปแบบที่สำคัญ คือ

๑. ใช้เว็ปไซต์  http://www.onlineassessmenttool.com  ในการพัฒนาฯ

๒. ข้อคำถามจำกัดให้น้อยที่สุดจำนวน  ๑๕ ข้อ เพื่อให้โปรแกรมออนไลน์ทำงานอย่างมี  ประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับวิถีชีวิต เวลา ความสะดวก ความร่วมมือ ของผู้ตอบแบบประเมินฯ ที่อาศัยในเขตเมือง

๓.แบบประเมินฯ เป็นชนิดแบบกรอกตัวเลข และเลือกคำตอบ  ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ Smartphone ระบบ  Android หรือ IOS ใช้เวลาทำประมาณ  ๒ – ๕ นาที เมื่อให้ข้อมูลครบทุกข้อแล้ว ระบบจะแสดงผลเป็นตัวเลขร้อยละทันทีว่าผู้ประเมินตนเองนั้น เสี่ยงน้อย เสี่ยงปานกลาง เสี่ยงมาก เสี่ยงมากที่สุด พร้อมมีคำแนะนำในการเข้ารับการตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันผลทางวิทยาศาสตร์

๔.  สร้างภาพคิวอาร์โค๊ด (QR: Quick Response Code) เชื่อมกับ URL Address  https://t.co/X7tf7iww2s ของแบบสอบถามออนไลน์ สามารถใช้ Application LINE เพิ่มเพื่อนสแกนรูปแปลงเข้าสู่แบบสอบถามได้ทันที

๕. กระจายส่งต่อภาพ QR Code ไปยังพื้นที่เขตเมืองเป้าหมายต่อผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Application Line , Facebook Group , Instragram และในเวทีการประชุม อบรม สัมมนา ทางวิชาการให้กับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบป้องกันควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด  โรงพยาบาลศูนย์  โรงพยาบาลทั่วไป  โรงพยาบาลอำเภอ  กองสาธารณสุขเทศบาล  แกนนำชุมชน ฯลฯ

๖. ดำเนินการทดลองและสนับสนุนการใช้รูปแบบประเมินตนเองออนไลน์ โดยกลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ของหน่วยงาน  ในกลุ่มเป้าหมายเสี่ยงสูงนักศึกษา  พบว่ามีผลตอบรับดี

๗. ร่วมมือกับร้านยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในการดำเนินการและสามารถคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ทั้งเพศชาย และหญิง ส่งต่อเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพเขตเมือง

๘. ร่วมกับทหารค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ค่ายเอกาทศรถ กองทัพภาคที่ 3 ในการประเมินผลการใช้นวัตกรรม

5. แผนการดำเนินการ (Outline of the Study) และผลที่คาดว่าจะได้รับในแต่ละช่วงระยะเวลา

-

6. ผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อการดำเนินงานเสร็จสิ้นที่เป็นรูปธรรมและตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

-

7 แผนการนำผลงานดังกล่าวออกสู่การใช้ประโยชน์ (Implementation)

-

8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

8.1 ประโยชน์ต่อผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัครเป็นรายบุคคล

นวัตกรรมเช็คสุขภาพทางเพศตนเองออนไลน์ ของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๒ พิษณุโลก กรมควบคุมโรค เป็นนวัตกรรมการพัฒนา ลักษณะที่สำคัญ คือ ดำเนินการทางเว็ปไซต์  เผยแพร่ภาพ QR Code ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์  จึงแบ่งปันส่งออกกระจายแบบประเมินจากหน่วยงานสู่สาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพในวงกว้าง รวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ กระจายเข้าถึงประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้ทุกระดับได้ภายในเวลาอันสั้น ไร้ขอบเขตข้อจำกัดด้านเวลาและพื้นที่ 

     เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีผสานต่อเกื้อกูลไขว้ซึ่งกันและกัน  เหมาะสมกับวิถีชีวิตคนเมือง  ผู้ตอบประเมินตนเองสามารถกระทำได้ด้วยตนเองผ่านโทรศัพท์มือถือชนิด Smartphone  ที่ใด เวลาใดก็ได้ที่สะดวก  และไม่รู้สึกกระดากอายในการเลือกตอบแบบประเมิน เนื่องจากไม่ต้องเปิดเผยความลับเฉพาะตนต่อผู้อื่นต่อหน้า จึงกล้าที่จะให้ข้อมูลตามจริงมากกว่าแบบประเมินลักษณะอื่น เปิดโอกาสในการรับทราบสถานะสุขภาพของตนเอง  เป็นการสื่อสารทางตรงถึงประชาชนได้มากขึ้น

8.2 ประโยชน์ต่อวิชาชีพโดยรวม

-

8.3 ประโยชน์ต่อสังคม

ทิศทางการใช้ประโยชน์ในระยะต่อไป สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค และหน่วยงานในระดับพื้นที่ควรใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมการพัฒนารูปแบบประเมินตนเองออนไลน์ฯ ที่ได้พัฒนาไว้  โดยการต่อยอดรับช่วงต้นแบบที่สร้างไว้ไปบริหารจัดการ  ขยายผลการเข้าถึง สร้างกลุ่มรับข่าวเฉพาะที่ตรงเป้าหมาย เผยแพร่ย้ำเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ 

     กระตุ้นประชาชนรุ่นใหม่กลุ่มเสี่ยงที่สนใจสื่อสารสนเทศสาธารณะ ได้เข้าถึงบริการเชิงรุกรับรู้สถานะระดับความเสี่ยงความเสี่ยงสุขภาพทางเพศด้วยตนเองในเบื้องต้น และมีความตระหนักถึงการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากติดต่อของโรค ปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม รู้วิธีการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรค ป้องกันตนเองล่วงหน้า  จะช่วยลดหรือบรรเทาความรุนแรงการเกิดโรค และการป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อย่างมาก

8.4 อื่นๆ

-

ความก้าวหน้าในการดำเนินการวิจัย/ปัญหาหรืออุปสรรคระหว่างทำวิจัย

-

อัพเดทความเคลื่อนไหว

ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้

อัลบั้มภาพ

ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้

วิดีโอ

ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้
  • อ่าน 973 คน
  • พิมพ์หน้านี้

แสดงความคิดเห็น

Skip to Top
เชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ's picture
นักวิจัยหลัก: เชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ
เมื่อ 2 เม.ย. 2562

ทีมงาน

ติดต่อ

ชื่อ – นามสกุล (นาย/นาง/นางสาว) เภสัชกรเชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ
หน่วยงาน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 พิษณุโลก กรมควบคุมโรค
สถานที่ติดต่อ เลขที่ 306 ถ.พิษณุโลก-วัดโบสถ์ หมู่ 5 ต.หัวรอ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000
โทรศัพท์ 055-214-615-7 ต่อ 329 โทรสาร 055-321-238 ……………...............
โทรศัพท์มือถือ 081-485-3438 ……………E-mail dpc9phs@yahoo.com …....

รางวัล

ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้

เอกสาร

  • vinyl_90x200cm.pdf
    (.pdf | 2592kb)
ส่งต่อให้เพื่อน

ติดต่อเรา

โครงการสนับสนุนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยระดับประเทศ

อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘o พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕o ชั้น 2
เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700

โทร. 02-419-2661  อีเมล r2r.thai@gmail.com

เครือข่าย R2R | ถาม-ตอบ | ติดต่อเรา

แผนผังเว็บไซต์

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ R2R
  • ข่าวสารและกิจกรรม
  • เวทีสร้างงานวิจัย
  • คลังความรู้
  • อัลบั้มภาพ
  • เครือข่าย R2R

ติดตามเรา

  • Facebook
  • Twitter
  • Youtube
  • RSS feed